Breaking

Friday, November 3, 2017

การปลูกน้อยหน่า

การปลูกน้อยหน่า

การปลูกน้อยหน่า

การปลูกน้อยหน่า


น้อยหน่า (Custard Apple/Sugar Apple) จัดเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีเนื้อนุ่ม หอมหวาน และให้เนื้อมาก นอกจากนั้น ส่วนอื่นๆของน้อยหน่า อาทิ เมล็ด ใบ เปลือก ราก และลำต้น ยังสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค รวมถึงการใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรได้หลายทาง

วิธีการปลูกน้อยหน่า
1. ควรปลูกในช่วงฤดูฝน
2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาวและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
3. ผสมดิน ปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตจำนวน 5 กิโลกรัม ประมาณ 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
4. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
5. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
6. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
7. กลบดินที่เหลือลงในหลุม
8. กดดินบริเวณโดนต้นให้แน่น
9. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลดพัดโยก
10. หาวัสดุคลุดดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
11. รดน้ำให้ชุ่ม
12. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด

ระยะปลูก
3 x 3 เมตร

จำนวนต้นต่อไร่
จำนวนต้นเฉลี่ย 150 ต้น/ไร่

การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
1. ต้นที่ยังไม่ให้ผลผลิตใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 - 3 ครั้ง
2. ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ยดังนี้
- บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
- ระยะสร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24
- บำรุงผล ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
- ปรับปรุงคุณภาพ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21
ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นและผลผลิตบนต้น ซึ่งอัตราที่ใช้อยู่ระหว่าง 2 - 4 กิโลกรัม/ต้น/ปี

การให้น้ำ
ในระยะปลูกใหม่ จำเป็นต้องให้น้ำสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้อยหน่าเจริญเติบโตได้เร็ว จำนวนรอดตายสูง น้อยหน่าเริ่มติดผลได้ในปีที่ 2 การให้น้ำแก่ต้นน้อยหน่าสม่ำเสมอจะทำให้ขนาดของผลและคุณภาพผลดี

การปฏิบัติอื่น ๆ
น้อยหน่าที่ให้ผลในระยะ 2 - 3 ปีแรก ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง เพราะยังให้ผลขนาดใหญ่อยู่จะต้องตัดแต่งบ้างก็เป็นกิ่งที่สูงเกินไป กิ่งฉีกหัก กิ่งแก่ กิ่งไม่สมบูรณ์ ส่วนการตัดแต่งกิ่งครั้งใหญ่ จะเริ่มตัดแต่งกิ่งเมื่อน้อยหน่าอายุประมาณ 4 - 8 ปี ซึ่งต้นจะเริ่มเสื่อมโทรม ผลเล็ก รูปร่างไม่ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ของต้นและการบำรุงรักษาเป็นสำคัญ

การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
1. ระยะแตกใบอ่อน ศัตรูพวกหนอนกินใบ ป้องกันโดยพ่นคาร์บาริล
2. ระยะออกดอก ศัตรูหนอนกัดกินดอกอ่อน ป้องกันโดยพ่นสารคาร์บาริล
3. ระยะติดผล โรคมั่นมี่ ป้องกันโดยพ่นสาร แคบแทน ไดเทนเอ็ม 45 โฟลิดอลและเพลี้ยแป้ง ป้องกันโดยพ่นสารคลอไพริฟอส ผสม ไซเปอร์เมทริน

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
1. ดัชนีการเก็บเกี่ยว ผลน้อยหน่าจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 110 - 120 วัน จากดอกบานโดยสังเกตร่องตาน้อยหน่าเริ่มห่างและสีร่องตาเข้ม ผิวจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมเหลือง สำหรับน้อยหน่า-หนัง สำหรับพันธุ์สีครั้งจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
2. การเก็บเกี่ยว โดยใช้มือปลิดผลติดขั้ว ถ้าอยู่สูงจะใช้ไม่ง่ามสอย ลงมาปลดผล ใส่ตะกร้า นำมาคัดขนาด และบรรจุผลใส่ภาชนะบรรจุ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ โดยรองด้วยใบตอง
3. อายุการเก็บรักษา หลังจากขนส่งน้อยหน่าส่งตลาดผลผลิตจะเริ่มสุก ขึ้นอยู่กับความแก่ของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวปกติอายุการวางขยายผลผลิต จะอยู่ระหว่าง 3 - 5 วัน



ประโยชน์น้อยหน่า
1. การใช้ประโยชน์ทั่วไป
น้อยหน่าถือเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทาน มีเนื้อมาก เนื้อนุ่มหวาน มีรสหอม เนื้อน้อยหน่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในน้อยหน่า 1 ผล จะประกอบด้วยน้ำ (73.5%), คาร์โบไฮเดรท(23.9%) โปรตีน(1.6%), ไขมัน(0.3%), แคลเซียม( 0.02%), ฟอสฟอรัส(0.04%) ธาตุเหล็ก และวิตามินซี

เนื้อน้อยหน่า
คุณค่าทางโภชนาการโดยเฉลี่ยของน้อยหน่า ( ต่อส่วนที่บริโภคได้ 100 กรัม )
– โปรตีน 1.4 กรัม
– ไขมัน 0.2 กรัม
– คาร์โบไฮเดรท 21.4 กรัม
– ไฟเบอร์ 1.2 กรัม
– แคลเซียม 7.0 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส 27.0 มิลลิกรัม
– เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม
– วิตามิน เอ 21 ไอ. ยู
– วิตามิน บี 1 0.09 มิลลิกรัม
– วิตามิน บี 2 0.09 มิลลิกรัม
– ไนอาซีน 1.0 มิลลิกรัม
– วิตามิน ซี 107.0 มิลลิกรัม

2. ยาสมุนไพร
การใช้น้อยหน่าเป็นยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรค พบว่า มีการนำส่วนต่าง ๆ ของน้อยหน่ามาใช้ เช่น ราก นำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาระบาย, เปลือกนำมาฝนกับหินใช้เป็นยาสมานแผล, ใบ ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค ขับพยาธิลำไส้ โดยนำมาโขลกให้ละเอียดใช้พอกแก้ฟกช้ำ รักษาโรคกลาก เกลื้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ รวมถึงช่วยในการรักษาแผล, เมล็ด และใบ ใช้เป็นยาฆ่าเหา (โดยนำเมล็ด 10 เมล็ด หรือ ใบสด 1 กำมือ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งมาตำให้ละเอียดผสมน้ำมันพืช 1-2 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาชโลมผมให้ทั่ว ใช้ผ้าคลุมโพกไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วจึงล้างออก) นอกจากนั้นเมล็ด สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันทำสบู่หรือใช้ประโยชน์ในด้านบำรุงผิวหรือความสวย ความงาม ส่วนกากที่เหลือสามารถทำปุ๋ยได้

3. ยาป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช
การใช้เป็นยาป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืช นิยมนำส่วนของเมล็ด และใบมาใช้ โดยนำเมล็ด 1 กิโลกรัม มาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 20 ลิตร และแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วันจากนั้น กรองเอาน้ำไปฉีดพ่นในแปลงเกษตร น้ำหมักที่ได้มีฤทธิ์ป้องกัน และกำจัดเพลี้ยอ่อนได้

การผลิตน้อยหน่านอกฤดู
น้อยหน่าจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกได้ดีพอควร ทั้งนี้เนื่องจากรูปร่าง สีสัน และรสชาติ ตรงกับรสนิยมของผู้บริโภค และเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศแหล่งปลูกน้อยหน่าในประเทศที่สำคัญอยู่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
โดยเฉพาะอำเภอ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมานั้นจัดได้ว่าเป็นแหล่งปลูกที่ใหญ่ที่สุด ส่วน ในภาคอื่น ๆ มีการปลูกน้อยหน่ากันบ้าง แต่เป็นการปลูกเพื่อใช้บริโภคภายใน ครัวเรือนเสียมากกว่า
การปลูกน้อยหน่าในปัจจุบันนี้ได้รับการพัฒนาไปมาก ทั้งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ จนทำให้น้อยหน่าที่ปลูกในระยะหลังนี้มีผลโต เนื้อมาก เมล็ดน้อย รสชาติหวานอร่อย และที่สำคัญก็คือสามารถบังคับให้น้อยหน่าออกดอกนอกฤดูกาลได้ด้วย ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

วิธีการบังคับให้น้อยหน่าออกดอกก่อนฤดูปกติ :
วิธีนี้เหมาะกับสวนที่มีระบบการให้น้ำดีและมีน้ำใช้ตลอดปี หากมีน้ำไม่เพียงพอหรือระบบการให้น้ำไม่ดี การบังคับให้น้อยหน่าออกดอกก่อนฤดูจะไม่ได้ผล วิธีนี้มีข้อดีคือสามารถกำหนดช่วงการแก่และเก็บผลได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้ผลแก่ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีน้อยหน่าออกมาขายในตลาดน้อย และมีราคาสูงเราสามารถกระทำได้โดยปฏิบัติเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.เดือนสิงหาคม บำรุงให้ต้นน้อยหน่า สมบูรณ์โดยใส่ปุ๋ยเกรด 1 : 3 : 3 เช่นสูตร 8-24-24 พร้อมกับให้น้ำ ต่อจากนั้นก็ปล่อยให้พักตัวประมาณ 1 เดือน
2.เดือนกันยายน ทำการตัดแต่งกิ่งทันที โดยกิ่งที่ทำการตัดแต่งนั้นควรเป็นกิ่งที่อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1 ½ -2 เมตร ขนาดของกิ่งถ้าเล็กกว่า ½ ซม. ควรตัดออกให้หมดแต่ถ้ามีขนาดใหญ่กว่า ½ ซม. ให้ตัดเหลือปลายกิ่งไว้ประมาณ 15 ซม. หากปลายกิ่งใดมีสีเขียวอยู่ก็ให้ตัดออกให้หมด เหลือเพียงกิ่งสีน้ำตาลไว้เท่านั้นและหากมีกิ่งกระโดงหรือกิ่งแขนงที่แตก ใกล้ระดับพื้นดินต้องตัดออกให้หมดเช่นกัน
3.ปลายเดือนกันยายน หลังจากทีได้ตัดแต่งกิ่งไปแล้วประมาณ 20 วัน ต้นน้อยหน่าเริ่มแตกใบอ่อนและออกดอกมาให้เห็น ช่วงนี้ควรมีการให้น้ำตามปกติ
4.เดือนตุลาคม ประมาณ 31-45 วันต่อมาดอกจะบาน ส่วนการให้น้ำก็ปฏิบัติเช่นเดิม
5.เดือนพฤศจิกายน ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผลมีขนาดเท่าหัวแม่มือ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโตเต็มที่
6.เดือนธันวาคม เมื่อผลมีขนาดโตเท่าไข่ไก่ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-13 เพื่อให้ผลมีคุณภาพดีขึ้น
7. เดือนกุมภาพันธ์ ผลแก่สามารถเก็บไปจำหน่ายได้ ซึ่งตรงกับช่วงที่น้อยหน่ามีราคาแพงพอดี หากไม่ใช้วิธีตัดแต่งกิ่งอาจใช้สารเคมีแทนก็ได้โดยใช้สารเคมีพวกพาราควอท (ชื่อการค้าว่า กรัมม๊อกโซน , น๊อกโซน, แพลนโซน) ให้ใช้ในอัตราความเข้มข้น 0.05-0.1 เปอร์เซ็นต์ (ของเนื้อสาร) ในปริมาณ 41-82 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น จะทำให้ใบร่วงหมดภายในเวลา 7-10 แต่การฉีดสารเคมีนี้ต้องระวังไม่ฉีดในขณะที่ต้นน้อยหน่าแตกกิ่งหรือใบอ่อน เพราะจะทำให้กิ่งหรือใบไหม้ได้

การบังคับให้น้อยหน่าออกดอกในฤดูปกติและหลังฤดูปกติอีกบางส่วน :
การปฏิบัติเหมือนกับที่ทำในฤดูปกติ คือจะตัดแต่งกิ่งในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ และเลือกตัดแต่งกิ่งที่ไม่มีผลติด ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 5 ม.ม. และจะติดผลประมาณเดือนเมษายน ต่อมาประมาณเดือนพฤษภาคมจะทำการตัดแต่งกิ่งอีกครั้ง โดยทำการตัดปลายกิ่งออกเฉพาะช่วงที่มีสีเขียวและให้เหลือเฉพาะส่วนที่เป็นสี น้ำตาลปนเขียว หลังจากนั้นให้รูดใบของกิ่งที่ตัดออกให้หมด กิ่งพวกนี้จะแตกใบใหม่พร้อมกับมีดอกออกมาอีก 1 รุ่น ซึ่งนุร่นที่ 2 นี้จะเก็บผลขายได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีผลไม้อื่นออกมามากนักเลยทำให้ขายได้ราคาสูง
การทำให้น้อยหน่าออกดอกหลังฤดูปกติอีกครั้งหนึ่งนั้น ควรมีการใส่ปุ๋ยเพิ่มเข้าไปด้วย โดยเฉพาะปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เช่น ปกติใส่ปุ๋ยคอกต้นละ ½ – 1 ปี๊บ ควรเพิ่มปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 อีกต้นละ 2 กก. จะช่วยให้ผลน้อยหน่ามีขนาดใหญ่และคุณภาพของผลดียิ่งขึ้น

ข้อมูลจาก http://www.doae.go.th/plant/s_apple/sugarapple.htm
http://pakchong.khorat.doae.go.th/Link%20pages/noyna.htm
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=829109
http://puechkaset.com/น้อยหน่า/

No comments:

Post a Comment