Breaking

Saturday, December 2, 2017

การปลูกเผือกหอม

การปลูกเผือกหอม

การปลูกเผือกหอม

การปลูกเผือกหอม



เผือกหอมมีลักษณะคล้ายต้นบอน เป็นพืชล้มลุกที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในยามขาดแคลนอาหารจำพวกแป้งเราสามารถกินเผือกแทนข้าวได้ และยังสามารถนำเผือกมาทำขนมหวานได้หลายรูปแบบ เหตุผลที่มีการรับประทานเผือกกันมากเพราะมีรสชาติดี ทำให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกยึดเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้ และเนื่องจากเผือกหอมขายได้ราคาดี เกษตรกรจึงสนใจปลูกมากกว่าเผือกชนิดอื่นๆ

เผือกหอมเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก หากขาดน้ำจะไม่เจริญเติบโต หรือถ้าปลูกในดินเหนียวหัวจะผอมยาว ไม่อวบสวย ต้นเผือกชอบดินที่มีการระบายน้ำได้ดีไม่ท่วมขังเมื่อฝนตกชุก มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ถ้าปลูกเผือกหอมหลังจากการทำนา ควรเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ หรือช้ากว่านี้ได้เล็กน้อย แต่ต้องเกินเดือนเมษายน เพราะถ้าปลูกช้าไปกว่านี้จะปลูกข้าวไม่ทันฝนเมื่อทำการเก็บเกี่ยวเผือกหมดแล้ว และถ้าฝนตกชุกมีน้ำขังในนา ในระยะที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจะทำให้เกิดการเน่าเสียอีกด้วย แต่ถ้าปลูกเผือกในฤดูแล้งต้องรดน้ำอย่าให้ขาด

วิธีการปลูกเผือกหอม
การเตรียมแปลงเพาะพันธุ์และการชำกล้าเผือก
ไถปรับดินให้เรียบ ปูด้วยขี้เถ้าแกลบหนาประมาณ 1-2 นิ้ว วางลูกเผือกหรือซอเผือกลงบนแปลง โรยทับด้วยขี้เถ้าแกลบบางๆ

วิธีชำต้นเผือก
เมื่อได้พันธุ์เผือกมาแล้ว นำมาวางบนดินที่เปียกชุ่มในที่ร่มให้วางเป็นแถวๆ ปิดคลุมด้วยฟางรดน้ำให้ชุ่มประมาณ 5-6 วัน เผือกจะเริ่มผลิหน่อเติบโตเป็นต้นอ่อนสูงประมาณ 10-12 ซม. ถ้าลูกเผือกแตกหน่อหลายยอด ควรเด็ดให้เหลือเพียงยอดเดียวแล้วทำการย้ายไปปลูกได้

การเตรียมดินและการปลูกเผือกหอมลงในแปลงปลูก
1. ยกร่องทำแปลงปลูกกว้างประมาณ 5 ม. ยาวไปตามพื้นที่ดิน ระยะห่างของร่องห่างกันประมาณ 1-1 ½ เมตร เมื่อฝนตกหนักน้ำจะได้ไม่ขังบนแปลงปลูก ทำการไถดะ ไถแปร คราดแปลงตามแนวยาวปรับพื้นที่ให้เรียบ

2. หากดินเป็นกรด ควรหว่านปูนขาว อัตรา 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ (ขึ้นอยู่กับดินว่าเป็นกรดมากหรือน้อย) หว่านปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือ อินทรียวัตถุ แล้วไถกลบก่อนปลูก 2-3 เดือน

3. นำหน่อเผือกที่แตกใบ 1-2 ใบแล้ว ย้ายปลูกลงแปลง แบบปักดำแบบทำนาข้าวระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 60 เซนติเมตร ระหว่างแถวให้อยู่ที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร

4. ควรปลูกลงในหลุมให้ลำต้นตั้งตรง กลบดินพอมิดหัวเผือก และควรปลูกในตอนเย็น และต้องรดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอ

5.ควรตัดหน่อที่แตกออกทิ้งเสียให้เหลือไว้เพียงต้นเดียว เพราะถ้ามีหลายหน่อเผือกจะมีหัวเล็ก ขายไม่ได้ราคา

6. เผือกจะมีหัวและโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุประมาณ 4-5 เดือน ระยะนี้ให้พูนดินคลุมโคนเผือก หัวเผือกจะดูดอาหารจากดินคลุมโคนได้ง่ายขึ้น จึงทำให้เผือกมีหัวป้อมใหญ่ น้ำหนักดี

7. พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกเผือกได้ประมาณ 12,000 หน่อ หรือประมาณ 100-200 กิโลกรัม

การให้น้ำ
ปล่อยน้ำให้ท่วมแปลงเป็นระยะ อย่าให้ขาดน้ำ รักษาระดับน้ำให้สูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร อยู่ตลอดเวลา

การคลุมแปลง
เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นและอุณหภูมิ เพื่อป้องกันวัชพืชจะใช้ฟางข้าว เปลือกถั่ว หญ้าคา พลาสติกดำ เป็นวัสดุคลุมแปลง **การใช้วัสดุคลุมแปลง จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นอีก 18-20%

การเก็บเกี่ยวเผือกหอม
เก็บเกี่ยวเมื่อเผือกมีอายุได้อายุ 6-7 เดือน โดยสังเกตเห็นใบเผือกจะเล็กลง ใบล่างๆจะมีสีเหลือง เหลือใบยอด 2-3 ใบ จึงสามารถขุดเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ซึ่งก่อนขุดเผือกประมาณ 15-30 วัน ไม่ควรเอาน้ำเข้าแปลงหรือรดน้ำเพราะเผือกจะดูดซึมน้ำไว้มาก ทำให้เก็บผลผลิตไว้ได้ไม่นาน

วิธีขุดหัวเผือก ใช้จอบหรือเสียมขุดใกล้ต้นเผือกแล้วงัดต้นเผือกขุดกองรวมกันไว้ หลังจากเก็บหัวเผือกแล้ว ให้เก็บลูกเผือกหรือลูกซอหาฟางหรือหญ้าคลุมดินไว้กันความร้อนจากแสงแดด จะสามารถเก็บปลูกไว้ในดินได้นานสำหรับทำพันธุ์คราวต่อไป ถ้าฝนตกชุกต้องเก็บลูกเผือกขึ้นจากดิน เพราะลูกเผือกจะเน่าเสียหายได้ ให้นำไปวางไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก

ส่วนต้นเผือกที่ขุดมาต้องลอกกาบแห้งๆ ออกให้หมด ตัดลูกเผือก ตัดราก และส่วนยอดทิ้งเหลือแต่หัวเผือก สำหรับลูกเผือกจะเก็บไว้ทำพันธุ์หรือขายก็ได้ เผือกหอมเป็นพืชที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ดีอีกพืชหนึ่ง ในเนื้อที่ 1 ไร่จะได้ผลผลิตเผือกหอมประมาณ 1,400-2,000 กิโลกรัม



ข้อควรระวังในการปลูกเผือกหอม

ไม่ควรใช้ยาชนิดเม็ดหยอดบริเวณหัวเผือกในการป้องกันโรคหัวเน่า เพราะมีฤทธิ์ตกค้างยาวนานถึง 120 วัน หรือมากกว่านั้น ถ้าเกษตรกรเก็บเผือกไปขายแก่ผู้บริโภค หากจำเป็นต้องใช้ยานี้ควรใช้ก่อนวันเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 120 วันขึ้นไป

   ส่วนการให้ปุ๋ยและการบำรุงต้นเผือกเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเผือกเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยมาก ดินที่จะใช้ปลูกเผือกให้ได้ผลดีก็ต้องเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ มาธาตุอาหารพืชอยู่ในดินสูง ดังนั้นปริมาณการใส่ปุ๋ยจึงขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ซึ่งโดยทั่วไปควรทำดังนี้ คือ ใส่ปุ๋ยคอกแห้ง เช่น มูลวัว ควาย เป็ด ไก่ ที่หมักแล้วรองก้นหลุม หรือคลุกกับดินในหลุมปลูกหลุมละ 2-3 กำมือ หรือใส่ลงบนแปลงปลูกช่วงไถพรวนได้เลย หลังจากเผือกตั้งตัวหรือย้ายปลูกได้ประมาณ 1 เดือน หรือก่อนพูนโคนทำร่อง ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 25-7-7 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยปุ๋ยรอบๆ ต้นเผือกและพรวนดินกลบ หรือโรยปุ๋ยข้างๆ แถวเผือก และจึง “แทงโปะ” หรือตักดินพูนโคนเพื่อทำร่อง ซึ่งการใส่ปุ๋ยคอกรวมกับปุ๋ยเคมีจะให้ผลดีมาก

หมายเหตุ : ปุ๋ยที่ใช้บำรุงหัวเผือก คือ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมกับปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 โดยแบ่งใส่ 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 20 วัน จะทำให้เผือกหัวใหญ่ และผลผลิตสูงถึง 5 ตันต่อไร่

พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกเผือกได้ประมาณ 12,000 หน่อ หรือประมาณ 100-200 กิโลกรัม

ระยะปลูก
ระยะปกติ 50 X 75 ซม.
ระยะชิด 45 X 50 ซม.
หมายเหตุ :
- การปลูกระยะชิดมากเกินไปเมื่อต้นโตขึ้นใบจะตั้งตรงเพราะเบียดกับต้นข้างเคียง การที่ใบไม่
สามารถแผ่กางรับแสงแดดได้เต็มพื้นที่หน้าใบ ทำให้การสังเคราะห์อาหารไม่ดีจึงส่งผลให้ผลผลิตไม่ดี
ด้วย และการปลูกห่างเกินไปนอกจากทำให้เสียเนื้อที่แล้วยังทำให้แสงแดดส่องถึงพื้นจนวัชพืชเจริญ
เติบโตได้อีกด้วย.......การจัดระยะปลูกที่พอดี ไม่ชิดหรือไม่ห่างจนเกินไปจะทำให้ได้ผลผลิต
ปริมาณมากและคุณภาพดี

   หลังจากปลูกแล้วต้นเผือกมีใบ 3-4 ใบ ก็จะพูนโคน หรือชาวไร่เผือกภาคกลางเรียกว่า “การแทงโปะ” คือเป็นการแทงตักดินขึ้นมากองไว้ตามแถวเผือก ก็จะ “แทงโปะ” โดยการใช้เสียมตักแซะดินจากแถวทางระหว่างแถวทางเดินมาโปะเป็นแนวแปลงปลูก ดินเหล่านี้จะเป็นดินที่เสริมขึ้นมาให้ต้นเผือกได้เจริญเติบโตแล้วลงหัวต่อไป แล้วดินที่ถูกแซะออกไปก็จะเป็นทางสำหรับการให้น้ำแบบปล่อยเข้าร่องแปลงนั้นเอง

   หมั่นให้น้ำอยู่เสมอ โดยสูบน้ำเข้าแปลง น้ำก็จะไหลเข้าตามทางร่องน้ำที่ได้แซะดินออกไปตอนแทงโปะ การให้น้ำจะให้ทุก 10-15 วัน ไม่จำเป็นต้องให้น้ำขังอยู่ตลอดเวลา เพียงสังเกตว่าร่องน้ำเริ่มแห้ง ใบต้นเผือกเริ่มเหี่ยว ก็ต้องปล่อยน้ำเข้าร่องแปลง การให้น้ำ การปลูกเผือกหลังนาส่วนใหญ่ถ้าเกษตรกรปลูกตรงกับฤดูร้อน จำเป็นต้องให้น้ำชุ่มชื้นอยู่เสมอ เผือกจึงเจริญเติบโตและลงหัวได้ดี การปลูกเผือกในนาก็ควรปล่อยน้ำท่วมแปลงเป็นระยะ อย่าให้แปลงปลูกเผือกขาดน้ำ โดยให้น้ำสูงกว่าผิวดิน 5-10 เซนติเมตร การปลูกเผือกแบบยกร่องและปลูกแบบแถวคู่นั้น จะให้น้ำแบบสูบน้ำหรือปล่อยน้ำเข้าตามร่อง ให้ดินปลูกข้างต้นเผือกมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การกลบโคนต้น การตัดแต่งหน่อ และการเก็บเกี่ยวเผือกที่ปลูกในนา ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกเผือกริมร่องสวนตามที่ได้กล่าวไปแล้ว หลังจากปลูกไประยะหนึ่งหลังจากต้นเผือกตั้งตัวดีแล้ว ไม่นานก็แตกหน่อขึ้นเป็นกอ ควรใช้มีดคมๆ ปาดหน่อข้างที่แตกออกทิ้งเสีย ไม่ควรใช้มือถอนดึงเพราะจะทำให้ต้นเผือกกระทบกระเทือน ให้ต้นหนึ่งมีเพียงเผือกหัวเดียวเท่านั้น ไม่ให้แตกเป็นกอใหญ่ เพราะจะได้เผือกที่มีหัวเล็ก เพราะแย่งอาหารกัน จะขายไม่ได้ราคา

ศัตรูของเผือก
1. เพลี้ยอ่อน ใบเผือกมักจะถูกเพลี้ยอ่อนรบกวนเสมอ ทำให้ต้นเผือกแคระแกร็น ไม่ค่อยเจริญเติบโต การป้องกันกำจัดควรใช้ยาไดเมทโธเอท ไดเมครอน หรือมาลาไธออน อย่างใดอย่างหนึ่งประมาณ 2-4 ช้อนสังกะสีต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นใบให้ทั่ว
2. หนอนกัดกินใบ ต้นเผือกมักจะถูกหนอนคอยกัดกินใบเสมอ ทำให้ใบฉีกขาดเว้าแหว่ง ต้นเผือกจะชะงักการ เจริญเติบโตได้ จึงควรใช้ยาเซฟวิน 85 หรือมาลาไธออนอย่างใดอย่างหนึ่งในอัตราส่วนยา 2 ถึง 4 ช้อนสังกะสีต่อน้ำ 1 ปี๊บ
3.โรคหัวเน่า ซึ่งเกิดจากเชื้อราเข้าทำลายหัว คว ใช้ยาเธอราคลอ หรือไดโพลาแทน อย่างใดอย่างหนึ่งในอัตราส่วนยา 1-2 ช้อนสังกะสีต่อน้ำ 1 ปี๊บ หยอดโคนต้น กำจัดเชื้อราและป้องกันการลุกลามของโรค

ข้อควรระวัง
   ในการป้องกันโรคหัวเน่าของเผือก ไม่ควรใช้ยาชนิคเม็ดหยอดบริเวณหัวเผือก เช่น ยาพวกเทมมิค 10 จี ไทเมค 10 จี และ บี.เอส.ซี เพราะยาเหล่านี้มีฤทธิ์ตกค้างอยู่ในหัวเผือกนานมากถึง 120 วันหรือกว่านั้น ถ้าเกษตรกรใช้ยาเม็ดเหล่านี้กับเผือก และเก็บเผือกขายขณะที่ยายังไม่หมดฤทธิ์ จะเป็นอันตรายสำหรับผู้ที่ซื้อเผือกไปรับประทาน อาจถึงตายได้ ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้ยาชนิดเม็ดพวกนี้ ต้องใช้ก่อนวันเก็บเกี่ยวเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 120 วันขึ้นไป

การเก็บเกี่ยว
   เผือกหอมมีอายุนับจากวันปลูกถึงวันเก็บเกี่ยวประมาณ 7 เดือน เมื่อเผือกอายุใกล้จะเก็บเกี่ยวได้ใบจะค่อยๆ เป็นสีเหลืองตั้งแต่ใบล่างขึ้นไปจนหลือใบตรงส่วนยอด 2-3 ใบ ก็แสดงว่าหัวเผือกแก่จัดชุดยอดขึ้นได้แล้ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้ในดินนานกว่านี้น้ำหนักของหัวเผือกจะลดลง วิธีขุดใช้จอบฟันดิน หรือใช้เสียมขุดใกล้ต้นเผือกแล้วงัดต้นเผือกขุดกองรวมกันไว้ เมื่อขุดหมดแล้วจึงตามเก็บลูกเผือกหรือลูกซอที่หักออกจากหัวเผือกติดอยู่ในดิน ในบางท้องที่ที่ไม่มีการทำนา เกษตรกรที่ปลูกเผือกเพียงอย่างเดียวจะปล่อยลูกเผือกไว้ในดินก็ได้แล้วหาฟางหรือหญ้าคลุมดินไว้กันความร้อนจากแดด ซึ่งสามารถจะเก็บปลูกไว้ในดินได้นาน สำหรับทำพันธุ์ในการปลูกคราวต่อไป แต่ถ้ามีฝนตกลงมามากต้องเก็บลูกเผือกขึ้นจากดิน มิฉะนั้นจะเน่า และนำไปไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก
ต้นเผือกที่ขุดมาได้แล้วนี้ต้องนำมาลอกกาบแห้งๆ ออกตัดลูกเผือกไว้ต่างหาก ตัดรากและส่วนยอดทิ้งเหลือแต่หัวเผือก สำหรับลูกเผือกจะขายหรือเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อไปก็ได้ ในเนื่อที่ 1 ไร่จะได้ผลผลิตเผือกประมาณ 1,400 ถึง 2,000 กก. เผือกหอมจึงเป็นพืชหลังนาที่ทำรายได้ดีให้กับเกษตรกรอีกพืชหนึ่ง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม: http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/herb_gar/pukperk.pdf

No comments:

Post a Comment