การปลูกโหระพา
วิธีการปลูกโหระพา
โหระพา เป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Labiatae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ocimum basilicum Linn. เป็นผักที่ใช้บริโภคเป็นผักสดหรือใช้ประกอบอาหารอื่นๆ ก็ได้ ทำให้อาหารมีรสชาติและกลิ่นหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น ใช้ใบปรุงอาหารเป็นผักชูรสได้หลายชนิด เช่น แกงเผ็ด แกงเลียงผัด ทอด รับประทานสด เป็นเครื่องแนมอาหารคาวหรืออาหารว่างได้เป็นอย่างดี
นอกจากจะใช้เป็นอาหารแล้วยังมีคุณค่าทางยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เมล็ดเมื่อแช่น้ำจะพองตัวใช้รับประทานแก้บิด ช่วยหล่อลื่นลำไส้
โหระพาเป็นพืชที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุสั้น มีความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ก้านใบและลำต้นมีสีม่วงแดง ใบสีเขียว ใบเป็นรูปหอกยาวประมาณ 1-3 นิ้ว มีกลิ่นหอม ออกดอกเป็นชั้นคล้ายฉัตร ดอกสีขาว ม่วงหรือชมพู โหระพาสามารถเจริญเติบ
โตได้ดีในดินแทบทุกชนิดที่มีความชื้นสม่ำเสมอ ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวันและสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
การปลูกโหระพา
พันธุ์โหระพา
โหระพาที่ปลูกกันทั่วไปในประเทศไทยส่วนมากเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกต่อๆ กันมา โดย เก็บเมล็ดพันธุ์เอง และต่อมาบางที่เกิดจากการกลายพันธุ์ไปแต่ก็ยังไม่มีการแบ่งแยกเป็นแต่ละ
พันธุ์อย่างชัดเจน สาเหตุเพราะการปลูกเป็นการค้าที่ยังไม่แพร่หลายเท่าใดนัก เนื่องจากปริมาณความต้องการยังมีจำกัด มีการซื้อขายกันจำนวนมากๆ เฉพาะในเมืองใหญ่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีบริษัทเอกชนคือ บริษัท อีสท์เวสท์ซีด จำกัด ได้พัฒนาสาย พันธุ์โหระพาขึ้นมา ได้แก่ พันธุ์โหระพา จัมโบ้ (4320) ซึ่งมีลักษณะใบใหญ่ ใบสีเขียวสดใส มี กลิ่นหอม โตเร็ว ต้นแข็งแรง สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด และปลูกได้ตลอดปี
วิธีการปลูก
การเลือกพื้นที่ โหระพาเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้ 1-2 ปี การเลือกพื้นที่ควรพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ ดินควรมีความร่วนซุยมีความอุดมสมบูรณ์ดี มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำและสามารถนำน้ำมารดได้สะดวก อยู่ใกล้ที่พักอาศัยและการคมนาคมสะดวก
การเตรียมดิน
โหระพาเป็นพืชที่มีระบบรากลึกปานกลาง การเตรียมดินควรขุดหรือไถ ดินลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน ไถพรวนคราด ย่อยดินให้ละเอียด เก็บเศษวัชพืชออกให้หมด หลังจากนั้นยกแปลงสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร ยาวตามความเหมาะสมเว้นช่องว่างระหว่างแปลงประมาณ 30 เซนติเมตร เมื่อยกแปลงเสร็จ แล้วใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วอัตรา 800 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 500 กรัมต่อตา รางเมตร โรยให้ทั่วแปลง และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านให้กระจายทั่วแปลง คลุกเคล้าปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีให้เข้ากันกับดินพร้อมที่จะปลูก
วิธีปลูก การปลูกโหระพาควรกระทำในตอนเย็น วิธีการปลูกที่นิยมมี 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. การเพาะกล้าย้ายปลูก โดยการหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วแปลงแล้วใช้แกลบสด แกลบเผาหรือฟาง หว่านหรือคลุมบางๆ แล้วรดน้ำตามทันที หลังจากนั้น รดน้ำทุกวันเช้าและเย็น จนกระทั่งเมื่ออายุได้ 20-25 วัน จึงทำการย้ายปลูก โดยการถอนกล้าแล้วเด็ดยอดนำไปปลูกในแปลง โดยใช้ระยะปลูก 20x20 เซนติเมตร เมื่อถอนกล้าออกจากแปลงแล้วจะต้องปลูกให้เสร็จภายในวันเดียวกัน หลังจากปลูกเสร็จควรหาฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุมเพื่อเก็บความชื้นและรดน้ำตามทันที
2. การปักชำ โดยตัดกิ่งที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แล้วปลิดใบออกให้หมดนำไปปักชำในแปลง โดยใช้ระยะปลูก 20x20 เซนติเมตร ใช้หญ้าแห้งหรือฟางแห้งสะอาดคลุมให้ทั่วแปลง และรดน้ำตามทันที
การปฏิบัติดูแลรักษา
โหระพาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูงและสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงควรมีการรดน้ำให้ทุกวัน แต่ ระวังอย่าปล่อยให้มีการท่วมขังของน้ำในแปลง ในระยะแรกควรทำการพรวนดินและกำจัดพืช ทุกๆ 1-2 สัปดาห์ โดยการใช้มือถอนจอบหรือเสียมดายหญ้าออกและควรทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้กระทบต่อต้นและราก
โหระพาเป็นพืชที่ดูแลรักษาง่าย เจริญเติบโตดี การใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ละลายน้ำรดหลังปลูกประมาณ 15-20 วัน จะทำให้การเจริญเติบ
โตของโหระพาดียิ่งขึ้น และมียอดอวบงามและใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อ ไร่ทุกครั้งหลังจากการเก็บเกี่ยวสำหรับการป้องกันกำจัดโรคและแมลงนั้น เนื่องจากโหระพาเป็น
พืชที่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงมากนัก การแก้ปัญหาจึงไม่ควรใช้สารเคมี เพราะอาจไม่คุ้มค่า
การเก็บเกี่ยว
หลังจากปลูกประมาณ 30-35 วัน สามารถทำการเก็บเกี่ยวได้ โดยใช้มีดคมๆ ตัดต้น หรือกิ่ง ห่างจากยอดลงมาประมาณ 10-15 เซนติเมตร นำไปขายหากยังไม่มีผู้รับซื้ออาจชะลอ
การเก็บเกี่ยวได้ โดยการตัดช่อดอกออกโหระพาก็จะแตกกิ่งแตกใบออกมาอีกเรื่อยๆ การเก็บ เกี่ยวสามารถกระทำได้ทุกๆ 15-20 วัน ไปจนถึงอายุ 7-8 เดือน
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
จัดทำโดย : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
No comments:
Post a Comment