Breaking

Thursday, November 2, 2017

การปลูกกระจับ

การปลูกกระจับ

การปลูกกระจับ

การปลูกกระจับ


วิธีการปลูกกระจับ

การปลูกกระจับ
กระจับเป็นพืชที่เติบโตได้เฉพาะในแหล่งน้ำขัง ซึ่งมีระดับความลึกแตกต่างกันไปตามธรรมชาติ บางแห่งอาจพบกระจับเติบโตได้ในแหล่งน้ำที่ลึกได้มากกว่า 3 เมตร โดยพื้นที่ปลูกกระจับมักจะเลือกแหล่งที่มีระดับน้ำไม่ลึก ประมาณ 30-50 ซม. เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าเก็บฝัก และควรเป็นพื้นที่กลางแจ้ง ไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่ทำให้เกิดร่มเงา

การขยายพันธุ์กระจับ นิยมทำกัน 2 แบบ คือ การปลูกด้วยฝัก และการปลูกด้วยเถา
การปลูกด้วยเมล็ด
การปลูกด้วยเมล็ดจะใช้เมล็ดที่แก่แล้วเท่านั้น และเป็นเมล็ดที่ได้จากต้นมี่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น โดยการเพาะจะเริ่มจากการนำดินผสมกับแกลบดำ อัตราส่วน 1:1 บรรจุใส่กระถาง แล้วฝังลงในกระถางตรงกลางให้ลึกพอดินกลบพอดี หลังจากนั้น ใช้น้ำเทใส่กระถางให้ท่วม และปล่อยทิ้งไว้ หลังจากนั้น ฝักจะเริ่มงอก และใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก็พร้อมย้ายลงปลูกในแปลง ทั้งนี้ ขณะเพาะเมล็ดต้องคอยดูแลให้น้ำท่วมหน้าดินในกระถางตลอด



การปลูกด้วยเถา
การปลูกด้วยเถาจะใช้เถาอ่อน ใบค่อนข้างบาง เล็ก และมีสีน้ำตาล ด้วยการนำเถามามัดรวมกัน 2-3 เถา แล้วกดเถาส่วนต้นที่มัดรวมกันลงหน้าดินใต้น้ำให้ลึกประมาณที่เถาไม่ลอย ระยะห่างระหว่างเถาที่ 2.5-3 เมตร

หลังการปลูกแล้ว 1 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และก่อนออกดอก-ช่วงออกดอก ในเดือนที่ 3-4 ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 24-12-12 ซึ่งจะช่วยให้ฝักกระจับมีขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ช่วงการดูแลให้มั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 1-2 เดือน/ครั้ง

การเก็บฝัก
กระจับจะเริ่มออกดอกหลังการปลูกประมาณ 3-4 เดือน และจะเริ่มติดเป็นฝักประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้น ฝักจะเริ่มแก่เต็มที่ในเดือนที่ 5 เปลือกฝักจะมีสีม่วงแดงจนถึงดำ และเปลือกมีลักษณะแข็ง

ช่วงที่เริ่มเก็บฝักกระจับจะอยู่ในช่วงที่ใบกระจับเริ่มเหลือง โดยจะทยอยเก็บเป็นระยะ ทุกๆ 8-10 วัน/ครั้ง โดยกระจับ 1 กอ จะเก็บฝักได้ประมาณ 5-6 ครั้ง

การเก็บรักษาฝัก
ฝักกระจับที่เก็บมาจากต้นจะค่อนข้างเน่าเสียได้เร็วมาก และหากเก็บไว้นานจะทำให้ความหวานลดลง ดังนั้น แล้วเกษตรกรมักนำกระจับที่เก็บมาแล้วเข้าต้มเพื่อจำหน่ายทันที หรือ นำมาแปรรูเป็นอย่างอื่น เช่น ฝักสดนำมาทุบกะเทาะเอาเนื้อฝักออกแล้วนำมาบด และตาก เพื่อใช้ทำแป้งกระจับสำหรับประกอบอาหารอย่างอื่น ซึ่งการแปรรูปนี้จะทำให้เก็บรักษาแป้งกระจับได้นานขึ้น นอกจากนั้น แล้วยังแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่น อาทิ กระจับกระป๋อง (กระจับในน้ำเชื่อม) กระจับดอง กระจับแช่อิ่ม เป็นต้น

วิธีการทำกระจับกระป๋อง
– นำกระจับมาล้างน้ำให้สะอาด
– นำเข้าต้มในน้ำเดือด 1-1.5 ชั่วโมง
– นำขึ้นมาพักให้สะเล็ดน้ำ และให้เย็นลง ก่อนทุบหรือกะเทาะแยกเอาเนื้อออก
– นำเนื้อกระจับมาล้างให้สะอาด ก่อนบรรจุลงในกระป๋อง
– เติมน้ำเชื่อม และกรดซิตริก 0.1% โดยให้มีช่อว่างเหนือกระป๋องเล็กน้อย และควรให้มีความหวานประมาณร้อยละ 20-25 แล้วปิดฝาพอหลวมๆ ก่อนนำไปให้ความร้อนเพื่อไล่อากาศออก ก่อนปิดฝาให้สนิท
– นำกระป๋องเข้าฆ่าเชื้อที่ความร้อน 100 องศา แล้วนำมาติดพลาสติกบรรจุภัณฑ์ ก่อนส่งจำหน่าย

สรรพคุณของกระจับและวิธีใช้
ใบมีรสเปรี้ยว ใช้กัดเสมหะ แก้ไข้ ขับเมือกในลำไส้ให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ใบช่วยเป็นยาเสริมสมรรถภาพตาของเด็ก ส่วนก้านต้นใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะ ผลเป็นอาหารได้ โดยทานเนื้อในของผลที่มีสีขาว ผลกระจับมีปริมาณแป้งสูง มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง มีวิตามินเอ และมีโปรตีน ในการบริโภคจึงต้องต้มให้สุกก่อนจึงจะรับประทานได้ เพราะอาจจะมีปัญหาของพยาธิใบไม้ ในบางภัตตาคารจะใช้กระจับแทนแห้ว แม้แป้งของกระจับก็ใช้แทนแป้งของถั่วเขียวได้
บางแห่งจะทำน้ำกระจับจำหน่าย นอกจากนี้ยังมีปริมาณแคลเซี่ยมสูง ซึ่งช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย

No comments:

Post a Comment