Breaking

Monday, October 16, 2017

การปลูกผักชี

การปลูกผักชี

การปลูกผักชี

การปลูกผักชี



ผักชีเป็นพืชที่ใช้ใบและต้นมารับประทานแบบสด ส่วนผลและรากนำมาใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ใบหยิก สีเขียวสด มีกลิ่นฉุน ความสูงของต้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายแบบ อาทิ ต้มยำ สลัด ลาบ เป็นต้น ถือเป็นผักที่มีการใช้มากในการประกอบอาหารในครัวเรือน เรียกได้ว่าแทบจะขาดไม่ได้เลยทีเดียว ดังนั้น ปัจจุบันจึงมีราคาค่อนข้างสูงพอควร โดยเฉพาะในหน้าฝน และหากเกิดภาวะน้ำท่วมยิ่งมีราคาแพงมากขึ้น แต่ปัจจุบันแนวโน้มเรื่องเกษตรอินทรีย์ถือเป็นเรื่องที่กำลังมาแรง และต่อไปในอนาคตคาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มความนิยมมากขึ้น จากภาวะความวิตกกังวลเรื่องสารเคมีตกค้างในพืชผักที่มีการผลิตแบบใช้สารเคมี ดังนั้น ผักชีอินทรีย์หรือพืชผักอินทรีย์มีแนวโน้มขายดีในอนาคตแน่นอน

ปัจจุบันนิยมปลูกมากในประเทศอินเดียและผลิตเมล็ดพันธุ์ส่งออกขายทั่วโลก ในประเทศไทยก็มีการปลูกผักชีไว้เพื่อรับประทานเช่นกัน โดยใช้ใบเป็นผักประดับและชูรส ในทางภาคเหนือมีการปลูกผักชีเพื่อเอาเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ใช้ทำเป็นเครื่องแกงและใช้ในการปรุงของบางชนิด นอกจากนี้เมล็ดยังนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในการประกอบอาหารและเป็นเครื่องชูรส สำหรับกากที่เหลือใช้เป็นอาหารสัตว์



ผักชีเป็นผักที่ปลูกง่าย และไม่ค่อยพบโรคหรือแมลงศัตรูพืมากนัก เนื่องจากมีกลิ่นน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยไล่แมลงได้ ขั้นตอนการปลูกผักชีอินทรีย์ สามารถเริ่มตั้งแต่ขั้นต้นของการปลูก ได้แก่

การเตรียมเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์ที่มีการปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์สิงคโปร์ และพันธุ์ไต้หวัน เมล็ดพันธุ์ผักชีที่ซื้อตามร้านค้ามักผสมกับผงเคมีกันแมลง และความชื้นมาด้วย จึงควรล้างออกให้สะอาด และแช่ด้วยน้ำสะเดาประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนนำมาหว่านที่แปลง เพื่อช่วยป้องกันแมลงมากัดกินเมล็ดพันธ์ผักชีก่อนการงอก สำหรับการแช่อาจแช่ใส่ถังน้ำหรือใส่ห่อผ้ามัด และแช่ในถังก็ได้

การเตรียมแปลงปลูก
การเตรียมแปลงปลูกเริ่มต้นด้วยการถางหญ้า และปรับพื้นที่แปลงตามประเภทของแปลงให้เหมาะสมกับฤดู และพื้นที่ เช่น
1. ฤดูฝนหรือพื้นที่ชุ่มตลอดปี ควรทำแปลงปลูกแบบยกร่องสูงหรือจัดให้มีร่องระหว่างแปลงเพื่อการระบายน้ำ
2. ฤดูแล้งหรือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ควรเตรียมแปลงในระดับพื้นหรือแปลงยกสันร่องระหว่างแปลง

เมื่อ ทำการกำจัดหญ้า และปรับระดับแปลงให้ได้ระดับแล้วจึงทำการพรวนดินผสมกับปุ๋ยธรรมชาติที่ สามารถหาได้ในท้องถิ่น อาทิ แกลบ ขี้เลื่อย มูลโค-กระบือ ฟางข้าว เศษใบไม้ เป็นต้น

การปลูก
ให้ทำการหว่านเมล็ด โดยให้แต่ละเมล็ดห่างกันประมาณ 5-10 เซนติเมตร จากนั้นให้ใช้คราด ทำการคราดตามแนวยาว และแนวขวางของแปลงประมาณ 2 รอบ พร้อมนำฟางข้าวโปรยกลบ ซึ่งควรใช้ฟางข้าวที่มีการบดหรือสับขนาดสั้นๆ และไม่หว่านโปรยให้หนาจนเกินไป พร้อมทำการรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา
การให้น้ำในระยะเริ่มแรกหลังการหว่านเมล็ดจะให้น้ำประมาณ 2 ครั้ง/วัน ในช่วงเช้าเย็นทุกวัน จนถึงระยะประมาณ 30 วัน ให้เว้นช่วงวันให้น้ำประมาณ 2-3 วัน/ครั้ง โดยให้น้ำเช้าเย็นเช่นกัน สำหรับช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 สัปดาห์ ควรให้น้ำน้อยลงประมาณ 3-4 วัน/ครั้ง

การใส่ปุ๋ย ให้ใช้น้ำแช่มูลสัตว์ เช่น มูลโค กระบือ ไก่ หมู โดยทำการแช่น้ำมูลสัตว์ใส่ถังทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ และนำเอาส่วนที่เป็นน้ำรดในแปลงผักชีประมาณ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยเป็นการร่วมกับการให้น้ำทั่วไป ทั้งนี้ให้เริ่มการให้ปุ๋ยน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากการงอก นอกจากนั้น ให้นำเศษมูลสัตว์ที่เป็นตะกอนหลังการแช่น้ำโปรยหว่านในแปลงเป็นระยะประมาณ 2 ครั้ง/เดือน

โรคและแมลงที่อาจพบ
1.โรคเน่าที่โคนต้นและใบ ให้ทำการป้องกันโดยการพ่นสารแมนไคเซป เช่น ไดเทนเอ็ม45 ตามฉลากกำหนด
2.โรคใบไหม้ ให้ทำการป้องกันโดยการพ่นสารมาเน็บ ยกตัวอย่างเช่น แคปเทน, แทนเอ็ม22 ในปริมาณที่กำหนด
3. ปกติผักชีไม่ค่อยมีแมลงเท่าไหร่ แต่เพื่อความมั่นใจ ให้ต้มน้ำกับใบที่มีลักษณะขม เช่น ใบสะเดา แล้วนำไปรดในแปลง 1ครั้ง/สัปดาห์

การกำจัดวัชพืช
การกำจัดวัชพืชให้ทำการถอนวัชพืชในแปลงเป็นระยะ ประมาณ 3 ครั้ง ตลอดระยะการปลูกก็ถือว่าเพียงพอ

การเก็บเกี่ยว
ผักชีสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 30-45 วัน ก่อนทำการเก็บเกี่ยวให้รดน้ำในแปลงให้ดินชุ่มเสียก่อนจะทำให้ถอนรากผักชีได้ ง่ายขึ้น

การปลูกในปริมาณมากมักให้พ่อค้าคนกลางมารับถึงในสวนได้เลย โดยรับซื้อเป็นกิโลกรัม แต่หากมีตลาดส่งจำหน่ายเองยิ่งถือเป็นการดี

สรรพคุณของผักชี
ผักชีช่วยบำรุงและรักษาสายตา
ช่วยให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผงรับประทานหรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล, ใบ)
ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ใบ)
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)
ช่วยกระตุ้นการทำงานของเลือดพลาสมาและกล้ามเนื้อ (ใบ)
ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง (ใบ)
ช่วยขับเหงื่อ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปต้มกับน้ำดื่ม หรือจะคั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่มแก้อาการก็ได้ (ทั้งต้น)
ใช้เป็นน้ำกระสายยา ช่วยกระทุ้งพิษไข้หัว ไข้อีดำอีแดง (ราก)
ช่วยแก้อาการหวัด (ใบ)
ช่วยแก้ไอ (ใบ)
ช่วยละลายเสมหะ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปต้มกับน้ำดื่ม หรือจะคั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่มแก้อาการก็ได้ (ทั้งต้น)
ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ใบ)
ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ใบ)
ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ (ใบ)
ใช้แก้อาการปวดฟัน เจ็บปาก ด้วยการใช้ผลนำมาต้มน้ำ แล้วนำมาอมบ้วนปากบ่อย ๆ (ผล)
ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผงรับประทานหรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล)
ผลแก่ใช้เป็นเครื่องเทศ มีกลิ่นหอม เมื่อใช้ผสมกับตัวยาอื่น จะช่วยกระตุ้นต่อมในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพิ่มน้ำดีให้มากขึ้น (ผลแก่)
ช่วยรักษาอาการปวดท้อง (ผล)
ช่วยแก้อาการบิด ถ่ายเป็นเลือด ด้วยการใช้ผลประมาณ 1 ถ้วยชา นำมาตำผสมกับน้ำตาลทรายแล้วนำมาผสมน้ำดื่ม (ผล)
ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ผลประมาณ 2 ช้อนชานำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล)
ช่วยย่อยอาหาร (ผล, ใบ)
ช่วยขับลมในกระเพาะ (ใบ)
ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร มีเลือดออก ด้วยการใช้ผลสดนำมาบดให้แตกผสมกับเหล้า ดื่มวันละ 5 ครั้ง หรือจะใช้ต้นสดประมาณ 120 กรัม นำมาใส่นม 2 แก้วผสมน้ำตาลดื่ม (ผล, ต้นสด)
ช่วยแก้พิษตานซาง (ใบ)
ช่วยแก้ตับอักเสบ (ใบ)
ช่วยขับลมพิษ (ใบ)
ช่วยแก้โรคหัด (ใบ)
ใช้รักษาเหือด หิด อีสุกอีใส (ราก)
ช่วยต่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และไข่ของแมลง (ใบ)
ช่วยแก้เด็กเป็นผื่นแดง ไฟลามทุ่ง ด้วยการใช้ต้นสด นำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ใส่ลงไปในเหล้าแล้วต้มให้เดือด นำมาใช้ทา (ต้นสด)
ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น โดยใช้ต้นสดนำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ใส่ลงไปในเหล้า ต้มให้เดือด นำมาใช้ทา (ต้นสด)
ช่วยลดอาการปวดบวมตามข้อ (ใบ)

ประโยชน์ของผักชี
ใบนำมารับประทานเป็นผักแนม รับประทานกับอาหารอื่น หรือนำมาใช้ปรับแต่งหน้าอาหาร (ใบ)
ช่วยถนอมอาหาร (ใบ)
ช่วยดับกลิ่นเนื้อและกลิ่นคาวต่าง ๆ (ผล)

http://puechkaset.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5/

http://www.vegetweb.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99/

https://medthai.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5/

No comments:

Post a Comment