Breaking

Friday, October 6, 2017

การปลูกแตงโม

การปลูกแตงโม

การปลูกแตงโม

การปลูกแตงโม


แตงโมเป็นผักตระกูลแตง ที่คนไทยเรารู้จักบริโภคกันมานานแล้ว นอกจากนิยมใช้ผลรับประทานแล้ว ส่วนของผลอ่อนยอดอ่อน ยังใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิด แตงโมเป็นพืชที่ปลูกง่ายสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยทุกฤดูกาลตลอดปีแตงโมปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดแต่ปลูกได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย ซึ่งมีสภาพความเป็นกรด เป็นด่างประมาณ 5.0 –7.5 มี การระบายนํ้าได้ดี

ฤดูปลูก
เนื่องจากแตงโมจะขาดตลาดและมีราคาสูงในตอนกลางและปลายฤดูฝนเพราะว่าในช่วงดังกล่าวจะปลูกแตงโมได้ยากลำ บาก เนื่องจากต้นแตงโมไม่ชอบฝนชุกจะตายด้วยโรคเถาเหี่ยวเป็นส่วนใหญ่ และเกิดโรคทางใบมาก ผลแตงโมจะเน่าง่ายอีกทั้งรสชาติจะไม่หวานจัดเหมือนแตงโมที่ปลูกในฤดูแล้ง หรือในฤดูหนาว ฉะนั้นจึงควรเริ่มปลูกแตงโมตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม และเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน ซึ่งยังเป็นต้นฤดูฝนอยู่ และมีผู้ต้องการบริโภคแตงโมกันมาก

พันธุ์แตงโม
ที่นิยมปลูกมี 2 พันธุ์ คือ
พันธุ์เบาที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือพันธุ์ ชูการร์เบบี่ ผลกลมสีเขียวคลํ้า อายุเก็บเกี่ยว 65 วัน นับจากวันงอก
พันธุ์หนัก คือ พันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ ผลสีเขียวอ่อน มีลายที่ผิวผล ผลกลมยาวขนาดใหญ่ อายุเก็บเกี่ยว 85 วัน นับจากวันงอก
พันธุ์แตงโมเหลือง เป็นพันธุ์ลูกผสม เนื้อสีเหลือง ผลกลม สีเขียวอ่อนลายเขียวเข้ม อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 70-75 วัน

ดินและการเตรียมดิน
แตงโมเป็นพืชที่หยั่งรากลึกมากกว่า 120 เซนติเมตร และต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นมากพอ ฉะนั้นถ้ามีการไถพรวนหรือขุดย่อยดินให้มีหน้าดินร่วนโปร่งและลึกก็จะช่วยป้องกันการขาดนํ้าได้เป็นอย่างดีในระยะที่ต้นแตงโมกำ ลังเจริญเติบโต การเตรียมดินให้หน้าดินลึกร่วนโปร่ง จะช่วยทำให้ดินนั้นยึดและอุ้มความชื้นได้มากขึ้น และเป็นทางเปิดให้รากแตงโมแทรกตัวเองลึกลงไปใต้ดินซึ่งจะช่วยให้รากหาอาหารและนํ้าได้กว้างไกลยิ่งขึ้นและเป็นการช่วยทำ ให้พืชสามารถใช้นํ้าใต้ดินมาเป็นประโยชน์ได้อย่างดีอีกด้วย ถ้าจำ เป็นต้องปลูกแตงโมในหน้าฝนควรเลือกปลูกในดินที่มีการระบายนํ้าดีคือเป็นดินเบา หรือดินทราย แต่ถ้ามีที่ปลูกเป็นดินหนัก หรือ ค่อนข้างหนัก ควรปลูกแตงโมในหน้าแล้งและขุดดิน หรือไถดินให้ลึกมากที่สุดจะเหมาะกว่า

การปลูกแตงโม
ใช้เมล็ดพันธุ์ชูการ์เบบี้ อัตรา 40-50 กรัม/ไร่ เมล็ดพันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์และพันธุ์เหลือ อัตรา250 – 500 กรัม/ไร่ โดยหยอดเป็นหลุมให้แต่ละหลุมในแถวห่างกัน 90 เซนติเมตร ส่วนแถวของแตงนั้นควรให้ห่างจากกันเท่ากับความยาวของเถาแตงโม หรือประมาณ 2-3 เมตร ในดินทรายขุดหลุมให้มีความกว้างยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ส่วนในดินเหนียวขุดหลุมให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกที่ละเอียดคลุกเคล้ากับดินบน ใส่รองก้นหลุมๆ ละ 4-5 ลิตร เตรียมหลุมทิ้งไว้ 1 วัน แล้วจึงลงมือปลูก หยอดหลุมละ 5 เมล็ด

การดูแลรักษา
เมื่อหยอดเมล็ดแล้วต้องรดนํ้าให้ชุ่ม เมื่อแตงโมขึ้นมามีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2-3 ต้น โดยคัดเลือกเอาแต่ต้นแข็งแรงไว้ แต่ถ้าปลูกให้ต้นห่างกัน 90 เซนติเมตร และแถวห่างกัน 3 เมตรแล้ว ก็เหลือหลุมละ 3 ต้นได้ รวมแล้วในเนื้อที่ 1 ไร่ จะมีต้นแตงโมอยู่ประมาณ 1,700 ต้น

วิธีช่วยให้เมล็ดแตงโมงอกเร็วขึ้น
สำหรับผู้ที่หยอดเมล็ดแตงโมในฤดูหนาว มักจะพบว่าแตงโมงอกช้า หรือไม่งอกเลย ทั้งนี้เพราะว่า ถ้าอุณหภูมิในดินปลูกตํ่ากว่า 15.5 องศาเซลเซียส เมล็ดแตงโมจะไม่งอกโดยธรรมชาติ ฉะนั้นเพื่อขจัดปัญหาเมล็ดไม่งอกในฤดูหนาว ควรทำ การหุ้มเมล็ดโดยแช่เมล็ดแตงโมในนํ้าอุ่นๆ ในบ้าน จะช่วยทำ ให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้น และงอกได้อย่างสมํ่าเสมอ เมื่อรากเริ่มโผล่ออกมาจากเมล็ด ก็เอาไปเพาะในถุงหรือกระทงใบตองได้ รอจนกล้ามีใบจริงแล้ว 2-3 ใบ จึงนำ ลงปลูกในไร่ หรือหากไม่สะดวกเพราะต้องการประหยัดแรงงาน ก็อาจนำ เมล็ดที่งอกนั้นไปปลูกในแปลงได้เลย โดยหยอดลงในหลุมแบบเดียวกับหยอดเมล็ดที่ยังไม่งอก แต่ต้องให้นํ้าในหลุมที่จะหยอดล่วงหน้าไว้ 1 วัน เพื่อให้ดินในหลุมชื้นพอเหมาะ หยอดเมล็ดที่งอกแล้วกลบดินทับหน้าไม่เกิน 1 เซนติเมตร แล้วรดนํ้า ต้นแตงโมจะขึ้นมา สมํ่าเสมอกันทั้งไร่

ปุ๋ยและการให้ปุ๋ยแตงโม
ปุ๋ยคอก การใส่ปุ๋ยคอกให้แก่แตงโมก็มีความสำ คัญมาก เพราะปุ๋ยคอกช่วยทำ ให้ดินร่วนโปร่งช่วยทำ ให้ดินมีธาตุอาหารมากขึ้น แล้วยังช่วยทำ ให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อยู่ในสภาวะสมดุลเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้นด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกในพื้นที่ปลูกจริงอัตราไร่ละ 2-4 ต้น

ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ควรใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 1:1:2 ซึ่งได้แก่ปุ๋ยเคมี สูตร 10-10-20 เป็นต้น หรือใช้ปุ๋ยสูตรใกล้เคียงได้ เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ใส่ในอัตราไร่ละ 100-150 กิโลกรัม จะตัดสินใจใส่ปุ๋ยมากหรือน้อยก็ต้องดูความอุดมสมบูรณ์ของดิน และราคาแตงโมประกอบด้วย ปกติแล้วจะใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ประมาณ 120-150 กก./ไร่ ต่อฤดูปลูก

วิธีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นแตงโม
ผู้ปลูกแตงโมส่วนใหญ่ยังนิยมใส่ปุ๋ยเคมี ลงบนผิวดินโดยหว่าน หรือวางเป็นกระจุกหน้าดิน แล้วรดนํ้าเพื่อให้ปุ๋ยละลายนํ้าลงไปสู่รากแตงโม การใส่ปุ๋ยวิธีดังกล่าวนี้ เป็นวิธีที่จะทำ ให้เปลืองปุ๋ยมาก รากพืชจะได้รับธาตุไนโตรเจนกับโปแตสเซียมจากปุ๋ยเคมีเท่านั้น แต่จะไม่ได้รับธาตุฟอสฟอรัสจากปุ๋ยเคมีนั้นเลย หรือได้รับก็ได้รับเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพราะตามปกติธาตุฟอสฟอรัสจะไม่เคลื่อนย้ายจากผิวหน้าดินลงไปสู่รากแตงโมแต่อย่างใด ซึ่งธาตุฟอสฟอรัสนั้นก็เป็นธาตุที่จำ เป็นต่อการเจริญเติบโตของแตงโม มากพอสมควรทีเดียว

ฉะนั้น การใส่ปุ๋ยเคมี จึงควรใส่ไว้ใต้ดินเป็นกลุ่มๆ เช่นใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก หรือใส่ไว้ใต้ผิวดินห่างจากโคนต้นแตงโมสัก 1 ฟุต ใส่เป็นกลุ่ม แตงโมจะได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่ตารางต่อไปนี้เป็นตารางการใส่ปุ๋ยให้กับต้นแตงโม โดยแยกแม่ปุ๋ยเดี่ยวๆ ใส่ตามความต้องการตามธรรมชาติของแตงโม

การใส่ปุ๋ยตามตารางใช้ปุ๋ยข้างบนนี้ เป็นการใส่ปุ๋ยให้ต้นแตงโมตามระยะเวลาที่ต้นแตงโมต้องการใช้ ซึ่งจะพอเหมาะพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป

ปุ๋ยที่ใส่เสริมหลังปลูกต้องคำ นึงถึงอยู่เสมอว่า รากแตงโมส่วนใหญ่เดินตามแนวนอนขนาดกับผิวดิน และเถาของมันฉะนั้นการใส่ปุ๋ยหลังปลูกควรใส่ที่ปลายราก และต้องไม่ใส่มากจนปุ๋ยเข้มข้นเกินไป และต้องให้ปุ๋ยอยู่ในรูปที่ค่อยๆ ละลายนํ้า เพื่อให้รากดูดซับเอาไปใช้ได้พอดี

เวลาของการใส่ปุ๋ยเพิ่มภายหลังปลูก
การใส่ปุ๋ยเสริมครั้งที่ 1 ใส่แบบโรยรอบต้นด้วยยูเรีย ใส่เมื่อต้นแตงโมมีใบจริงประมาณ 5 ใบ(ปุ๋ยยูเรียโรยที่ผิวดินได้)
การใส่ปุ๋ยเสริมครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรียด้านข้างแถวของต้นแตงโม ใส่เมื่อเถาแตงโมทอดยาวได้ประมาณ 1 ฟุต ควร พรวนดินก่อนแล้วจึงใส่ปุ๋ยแล้วปิดคลุมด้วยฟาง
การใส่ปุ๋ยเสริมครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ยยูเรียและโปแตสเซียมคลอไรด์ โดยใส่ด้านข้างแถวของต้นแตงโม ใส่เมื่อเถาแตงโมมีความยาวได้ประมาณ 7 ฟุต หรือประมาณ 90 เซนติเมตร (ปุ๋ยทั้งสองชนิดนี้โรยบนผิวดินได้)

การให้นํ้าและการดูแลรักษาแปลง
ตามธรรมชาติต้นแตงโมต้องการผิวดินชุ่มชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ผลแตงโมกำลังเจริญเติบโตเป็นตอนที่ต้นแตงโมต้องการนํ้ามาก การให้ความชุ่มชื้นแก่ดินในแปลง ควรให้ทั้งแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินแห้งแข็งและจับปึกซึ่งจะทำ ให้ดินขาดอากาศอ๊อกซิเจน ถ้าดินขาดอากาศเมื่อใด รากแตงโมจะได้รับนํ้า และธาตุอาหารอยฦู่ในขอบเขตที่จำกัดไปด้วยดินที่ขาดนํ้าแล้วแห้งแข็งทำให้ขาดอากาศไปด้วยนั้นคือดินเหนียวและดินที่ค่อนข้างหนัก ส่วนดินทรายและดินร่วนทราย รากแตงโมจะไม่ขาดอากาศ แม้ว่าจะขาดนํ้าก็ตาม ดินร่วนทรายและดินทรายสามารถไถพรวนให้หน้าดินลึกมากๆได้ เพื่อให้สามารถยึดจับความชื้นที่เราให้ไว้ได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวนั้นไม่สามารถไถพรวนให้ลึกเท่าดินทราย หรือดินร่วนทรายได้ เพราะเนื้อดินทั้งเหนียวและแน่นอุ้มนํ้าไว้ในตัวได้มากกว่าดินทราย แต่ก็คายนํ้าออกจากผิวดินได้ไวมาก และดูดซับความชื้นได้ตื้นกว่าดินทราย หรือดินร่วนทราย จึงทำ ให้ต้องให้นํ้ากับต้นแตงโมที่ปลูกในดินเหนียวมากกว่า คือต้องให้นํ้าอย่างน้อย 5 วันครั้ง หรือรดนํ้าทุกวันๆ ละครั้ง



ประโยชน์ของการคลุมด้วยฟาง
เมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตได้ระยะหนึ่ง เราควรจะปิดคลุมหน้าดินด้วยฟาง การคลุมดินด้วยฟางจะมีผล ดังนี้คือ :
1) ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินให้คงอยู่ได้นาน ทำ ให้รากแตงโมดูดซับธาตุอาหารในดินได้ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน
2) ทำ ให้ต้นแตงโมเป็นโรคทางใบน้อยลง เพราะต้นและเถาเลื้อยอยู่บนฟางไม่ได้สัมผัสกับดิน
3) ป้องกันไม่ให้ดินร้อนจัดเกินไป
4) เป็นการรองผลทำ ให้สีของผลสมํ่าเสมอ
5) ควบคุมไม่ให้หญ้าขึ้นและเจริญเติบโตมาแข่งกับแตงโม เพราะแตงโมแพ้หญ้ามากเนื่องจากหญ้าส่วนใหญ่มีใบปรกดิน เถาแตงโมนั้นทอดนอนไปกับผิวดิน หากหญ้าขึ้นคลุมแตงโมเมื่อใด หญ้าจะบังใบแตงโมไม่ให้ถูกแดดทำ ให้ใบแตงโมปรุงอาหารไม่ได้เต็มที่ และจะอ่อนแอลงทันทีในที่สุดจะตายหมด ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ เท่านั้น

การจัดเถาแตงโม
ถ้าปล่อยให้เถาแตงโมเลื้อยและแตกแขนงไปตามธรรมชาติ เถาแตงของแต่ละต้นก็จะเลื้อยทับกัน และซ้อนกันจนหนาแน่น ทำ ให้ผลผลิตลดน้อยลง สืบเนื่องมาจากแมลงช่วยผสมเกสรได้ไม่ทั่วถึงเพราะไม่อาจแทรกหาดอกได้ทั้งหมด ฉะนั้น เมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตไปจนมีความยาว 1-2 ฟุต ควรได้มีการจัดเถาให้เลื้อยไปในทางเดียวกันและตัดเถาให้เหลือไว้ต้นละ 4 เถา เถาที่เป็นเหล่านั้นออก ให้คงเหลือไว้ต้นละ 4 เถา ซึ่งเป็นเถาที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ตามเดิม

การช่วยผสมเกสรด้วยมือ (การต่อดอก)
ผู้ปลูกแตงโม มักประสบปัญหาแตงโมไม่ติดผลเนื่องจากไม่มีแมลงช่วยผสม เพราะใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นต้นแตงโมมากไปและไม่เลือกเวลาฉีด ทำให้แมลงที่ช่วยผสมเกสรเช่น ผึ้ง ถูกสารฆ่าแมลงตายหมด จึงเกิดปัญหาไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสร จึงต้องใช้คนผสมแทน

เราสามารถผสมพันธุ์แตงโมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 10.00 น. หลังจากเวลา 10.00 น.ไปแล้วดอกตัวเมีย จะหุบและไม่ยอมรับการผสมเกสรอีกต่อไป การผสมด้วยมือทำ ได้โดยเด็ดดอกตัวผู้ที่บานมาปลิดกลีบดอกสีเหลืองของดอกตัวผู้ออกเสียก่อน จะเหลือแต่อับเรณู ซึ่งมีละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ทั่วไป จากนั้นจึงควํ่าดอกตัวผู้ลงบนดอกตัวเมียให้อับเรณูของดอกตัวผู้ แตะสัมผัสกับเกสรตัวเมียโดยรอบ ให้ละอองเกสรตัวผู้สีเหลืองจับอยู่บนเกสรตัวเมียทั่วกันทั้งดอก ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการผสมซึ่งวิธีนี้ชาวบ้านเรียกว่า “การต่อดอก

การปลิดผลทิ้ง
แตงโมผลแรกที่เกิดจากเถาหลัก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและคุณภาพตํ่าเราควรปลิดทิ้งตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ และแตงที่มีลักษณะผลบิดเบี้ยวก็ควรปลิดทิ้งด้วย ขนาดที่ปลิดทิ้งไม่ควรปล่อยให้โตเกินลูกปิงปอง หรือผลฝรั่ง แตงที่ปลิดทิ้งนี้สามารถขายเป็นผลแตงอ่อนได้ และตลาดยังนิยมอีกด้วย ควรเลี้ยงต้นแตงโมไว้เถาละลูกจะดีที่สุด เถาแตงโมเถาหนึ่งๆ อาจติดเป็นผลได้หลายผล ให้เลือกผลที่มีก้านขั้วผลขนาดใหญ่และรูปทรงผลได้รูปสมํ่าเสมอทั้งผลไว้ ซึ่งจะทำ ให้ผลแตงโมมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูงเพราะ ขนาดก้านขั้วผลมีความสัมพันธ์กับขนาดของผล ถ้าก้านขั้วผลใหญ่ ผลก็จะใหญ่ ถ้าก้านขั้วผลเล็กก็จะเล็ก

การปฏิบัติต่อผลแตงโมภายหลังผสมติดเป็นผลแล้ว
ดอกตัวเมียของแตงโม ที่ได้รับการผสมเกสรอย่างสมบูรณ์ก็จะเจริญเติบโตอย่างสมํ่าเสมอติดต่อกันไปวันต่อวัน เมื่อผลแตงโมมีขนาดเท่ากับกะลามะพร้าว ควรเอาฟางรองใต้ผล เพื่อไม่ให้ผิวผลสัมผัสฟางถูกแสงแดดก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน เพื่อให้ผลแตงมีสีสมํ่าเสมอทั่วทั้งผล จะทำ ให้แตงโมมีรสหวานมากขึ้นอีก

การเก็บผลแตงโม
แตงโมเป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่ผลแก่แล้วไม่แสดงอาการว่าสุกงอกให้เห็นเหมือนผลมะเขือเทศ หรือ พริก ซึ่งจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง หรือไม่เหมือนกับผลมะม่วง ซึ่งทั้งเปลี่ยนสีแล้วยังมีกลิ่นหอมด้วย ฉะนั้นการดูว่าแตงโมแก่เก็บได้หรือยัง จึงต้องพิถีพิถันมากกว่าปกติอีกเล็กน้อยคือ
1) คาดคะเนการแก่ของผลแตงโมด้วยการนับอายุ ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ของแตงโม และอุณหภูมิของอากาศการต่อดอกโดยเด็ดดอกตัวผู้ที่กำลังบานแล้ว ปลิดกลีบดอกสีเหลืองออกให้หมดนำ ดอกตัวผู้ที่ปลิดกลีบดอกออกแล้วควํ่าลงบนดอกตัวเมีย
1.1 แตงโมพันธุ์เบา(ชูการ์เบบี้ ผลกลมสีเขียวคลํ้า)จะแก่เก็บได้ภายหลังดอกบาน ประมาณ35-42 วัน
1.2 แตงโมพันธุ์หนัก (ชาร์ลสตันเกรย์ผลยาวสีเขียวอ่อนมีลาย) จะแก่เก็บได้ภายหลังดอกบานประมาณ 42-45 วัน
2) คาดคะเนการแก่ของผล ด้วยการดูลักษณะที่พบได้ทั่วไปเมื่อแตงโมแก่
2.1 มือเกาะที่อยู่ใกล้กับขั้วของผลมากที่สุด เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้งเป็นบางส่วนจากปลายมาหาโคน
2.2 วัดความแก่อ่อนของผลแตงโมได้จากการดีดฟังเสียง หรือตบผลเบาๆ ฟังเสียงดูถ้ามีเสียงผสมกันระหว่างเสียกังวานและเสียงทึบ แตงจะแก่พอดี(แก่ 75%) มีเนื้อเป็นทรายถ้าดีดแล้วเป็นเสียงกังวานใส แสดงว่าแตงยังอ่อนอยู่ ถ้าดีดแล้วเสียงทึบเหมือนมีลมอยู่ข้างใน แตงจะแก่จัดเกินไปที่ชาวบ้านเรียกว่า “ไส้ล้ม” (แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับผลแตงที่เป็นโรคเถาตาย) ควรเก็บผลตอนบ่ายไม่ควรเก็บผลตอนเช้าเพราะจะทำ ให้ผลแตงแตกได้
2.3 สังเกตนวลของผล ถ้าจางลงกว่าปกติแสดงว่าแตงเริ่มแก่

โรคที่สำคัญ
1. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม) แตงโมที่เป็นโรคนี้สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยวจริงบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับดิน จะแตกตามยาวและมีน้ำเมือกซึม ออกมา เมื่อผ่าไส้กลางดูจะเห็นภายในเป็นสีนํ้าตาล โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก การปลูกซํ้าที่เดิม โรคนี้จะระบาดรุนแรงมาก
สาเหตุ
1. เชื้อรานี้เจริญและทำ ลายแตงโมได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24-28 องศาเซลเซียส
2. ขณะแตงกำ ลังเจริญเติบโตมีฝนตกติดต่อกันยาวนาน
3. ดินมีธาตุไนโตรเจนอยู่สูง แต่มีธาตุฟอสฟอรัส (P2O5) และโปแตสเซี่ยม (K2O) อยู่ตํ่า
4. ดินเป็นกรดจัด
การป้องกัน
1. อย่าปลูกแตงโมซํ้าที่เดิม
2. เริ่มคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีไดเทนเอ็ม – 45 อัตรา 15 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
ก่อนนำ ไปปลูก
2. ใช้ปูนขาวใส่ดินเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน ในอัตราไร่ละ 500 กิโลกรัม
3. ใช้สารเคมีไดเทน ที่มีความเข้มข้น 1 : 5 ฉีดที่ ต้นพืชจะช่วยทำ ให้เชื้อโรคชะงักลง
4. สารเคมีกลุ่มพีซีเอ็นบี เช่น เทอราคลอร์ ในอัตรา 60 ซีซี. ผสมนํ้า 20 ลิตร ราดลงในหลุม
แตงโมที่เกิดโรคและบริเวณข้างเคียงทุก 7 วัน
2. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย) ลักษณะที่มองเห็นในครั้งแรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่ และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้นสาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อแบคทีเรียไปอุดท่อส่งนํ้าเลี้ยงในต้นแตงโม ถ้าเอามีดเฉือนเถาตามยาวดูจะเห็นว่ากลางลำ ต้นในเถาฉํ่านํ้ามากกว่าปกติเชื้อแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในตัวของแมลงเต่าแตงต้นแตงโมได้รับเชื้อโรคจากการกัดกินใบของแมลงเต่าแตงนี้ เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ต้นแตงโมทางแผลที่แมลงเต่ากัดกิน ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้น
อย่างรวดเร็ว แล้วก็กระจายตัวเข้าสู่ท่อนํ้าและอาหารของแตงโม เราอาจป้องกันกันและรักษาได้โดยฉีดสารเคมีเซวิน 85 ป้องกันแมลงเต่าแตงและใช้ยาปฏิชีวนะสเตรปโตมัยซิน เช่น อะกริมัยซิน ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ใช้อัตราส่วนผสมตามที่แจ้งไว้ในซองบรรจุสารเคมีที่จำ หน่าย เมื่อพบว่าต้นแตงโมบางส่วนเริ่มเป็นโรคนี้ สารเคมีนี้ช่วยรักษาและป้องกันได้ แต่มีข้อเสียคือ เสื่อมคุณภาพเร็วจึงต้องซื้อแต่สารเคมีใหม่ใช้เท่านั้น ถ้าสารเคมีอะกริมัยซินเก่าเกิน 1 ปี ขึ้นไป จะฉีดไม่ได้ผล
3. โรครานํ้าค้าง ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้นจำนวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตำ แหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็วเมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทำลาย
ใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยคุณภาพผลแก่ก็ตํ่าด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นได้ผลดี คือ แคปแทนไซเน็บ มาเน็บ ชนิดใดชนิดหนึ่งอัตราผสมใช้ 1 กรัม ผสมนํ้า 500 ซีซี. (หรือครึ่งลิตร) หรือ 35-40 กรัม ผสมน้ำ 20 ลติร (1 ปี๊บ)

แมลงศัตรูที่สำคัญ
1. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีตัวขนาดเล็กมากตัวอ่อนจะมีสีแสด ตัวแก่จะเป็นสีดำ มีขนาดเท่าปลายเข็ม จะดูดนํ้าเลี้ยงที่ยอดอ่อนของแตงโม และใต้ใบอ่อนของแตงโม มีผลทำ ให้ใบแตงโมไม่ขยายยอดหดสั้นลง ปล้องถี่ ยอดชูตั้งขึ้น ชาวบ้านเรียกโรคนี้ว่า โรคยอดตั้ง บางแห่งก็เรียก โรคไอ้โต้ง เพลี้ยไฟ จะบินไปเป็นฝูง มีลักษณะเล็กละเอียดคล้ายฝุ่น สภาพฤดูแล้งความชื้นในอากาศตํ่าลมจะช่วยพัดพาเพลี้ยให้เคลื่อนที่เข้าทำ ลายพืชผลในไร่
ได้รวดเร็วขึ้นในพืชผักที่ปลูกด้วยกันเช่น ฟักทอง แตงโม แฟง ฟัก ในไร่ของเกษตรกรถูกเพลี้ยไฟทำ ลายเสียหายหนัก มีมะระพืชเดียวที่สามารถ
ต้านทานเพลี้ยไฟได้ และเมื่อสวนใดสวนหนึ่งฉีดพ่นยา เพลี้ยไฟจะหนีเข้ามายังสวนข้างเคียงที่ไม่ได้ฉีดสารเคมี การป้องกันและกำ จัดใช้สารเคมีหลาย
ชนิด เช่น แลนเนท ไรเนต เมซูโรล หรือ อาจปลูกพืชเป็นกันชน เช่น ปลูกมะระจีนล้อมที่ไว้สัก 2 ชั้น แล้วภายในจึงปลูกแตงโม เพราะมะระขึ้นค้างจะช่วยปะทะการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟให้ลดลงได้ และ มะระที่โดนเพลี้ยไฟเข้าทำลายจะต้านทานได้ และเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
2. เต่าแตง เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ที่ชอบกัดกินใบแตงขณะยังอ่อนอยู่ ลักษณะตัวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปีกสีเหลืองปนส้ม จะกัดกินใบแตงขาดเป็นวงๆ ตามปกติเต่าแตงลงกินใบอ่อน ต้นแตงโมหรือพืชพวกฟัก แฟง แตงกวาอื่นๆ มักจะไม่ทำ ความเสียหายให้กับพืชมากนัก แต่จะเป็นพาหะ
นำ เชื้อโรคเถาเหี่ยวของแตงโมซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมาสู่แตงโมของเราจึงต้องป้องกันกำ จัดโดยฉีดพ่นเพลี้ยไฟทำ ให้แตงโมใบหงิกและยอดตั้ง (ไอ้โต้ง)
ด้วยสารเคมี เซวิน 85 ในอัตรา 20-30 กรัม ผสมนํ้า 20 ลิตร ฉีดในระยะทอดยอด ฉีดคลุมไว้ก่อนสัปดาห์ละครั้งโดยไม่ต้องรอให้แมลงเต่าแตงลงมากินเสียก่อนแล้วค่อยฉีดในภายหลัง ซึ่งจะทำ ให้ป้องกันโรคเถาเหี่ยวของแตงโมไม่ทัน
3. แมลงวันแตง เข้าทำลายตั้งแต่ระยะติดดอกถึงเก็บเกี่ยว ใช้พอสซ์ หรือ อโซดริน ฉีดพ่น

ประโยชน์และสรรพคุณของแตงโม

เป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ต้องการลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักอย่างมาก เพราะมีแคลอรี่ต่ำ
ประโยชน์แตงโมช่วยในการควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกิน ป้องกันการสะสมของไขมันที่เป็นอันตรายกับร่างกาย ลดปริมาณไขมันที่จับอยู่ภายในเลือด
แตงโมมี “ไลโคปีน” (Lycopene) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ
ช่วยบำรุงผิวพรรณและเส้นผมให้แข็งแรง เพราะประกอบไปด้วยวิามินและแร่ธาตุหลายชนิด
แตงโมมีกรดอะมิโน Citrulline ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจ
แตงโมมีสารออกฤทธิ์ชนิดหนึ่งที่คล้ายกับยาแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อย่างไวอากร้า ซึ่งจะออกฤทธิ์กระตุ้นให้หลอดเลือดคลายตัวช่วยให้ระบบหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น
มีส่วนช่วยบำรุงสายตา เพราะมีวิตามินเอในผลแตงโม
มีส่วนช่วยล้างพิษจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปได้ด้วย
ใช้รับประทานเป็นผลไม้สด ทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มคลายร้อน ลดความร้อนในร่างกาย
เปลือกหรือผลอ่อนใช้ทำเป็นอาหาร อย่างแกงส้ม เป็นต้น
เปลือกที่มีสีเขียวอ่อนหรือขาวสามารถนำมารับประทานเป็นผักได้
นำไปทำเป็นไวน์ได้
นำไปแปรรูปเป็น แยมแตงโม เมล็ดแตงโม หรือทำเป็นสบู่แตงโมก็ได้
แตงโมพอกหน้า ใช้ทำเป็นทรีทเม้นท์บำรุงผิว ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว แก้ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยดูดซับความมันบนใบหน้า และลดอาการแสบแดง วิธีการง่าย ๆ เพียงแค่นำเนื้อแตงโมมาฝานบาง ๆ แล้วนำมาวางไว้บนผ้าขาวบาง จากนั้นนำมาวางปิดลงบนใบหน้าให้ทั่วทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ช่วยแก้เบาหวานและดีซ่าน
ช่วยบำรุงสมอง (เมล็ด)
ช่วยบำรุงร่างกาย (เมล็ด)
ช่วยบำรุงปอด (เมล็ด)
แตงโมสรรพคุณช่วยควบคุมความดันโลหิต และมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตลงได้ (Citrulline)
ช่วยรักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้
ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
ช่วยป้องกันหวัด
ช่วยลดอาการไข้ แก้คอแห้ง (น้ำแตงโม)
ใช้เป็นยาลดไข้ ด้วยการใช้ใบมาชงดื่ม (ใบ)
ช่วยบรรเทารักษาแผลในช่องปาก (น้ำแตงโม)
ป้องกันการเจ็บคอ ด้วยการนำเปลือกแตงโมไปต้มเดือดแล้วเติมน้ำทรายแล้วนำน้ำมาดื่ม (เปลือก)
แก้อาการเมาเหล้า
แก้โรคตับ (เมล็ด)
แตงโมมีเบตาแคโรทีน ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจและระบบขับปัสสาวะ
ช่วยย่อยอาหาร ช่วยระบายท้อง
สรรพคุณของแตงโมใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (เมล็ด)
ช่วยขับปัสสาวะ
แก้อาการปวดกระเพาะปัสสาวะ (เมล็ด)
รากมีน้ำยางใช้กินแก้อาการตกเลือดหลังการแท้ง (ราก)
ใช้ทารักษาแผล ด้วยการใช้เปลือกแตงโมล้างสะอาด นำมาผิงไฟหรือตากให้แห้งแล้วนำมาบดให้เป็นผงแล้วนำมาบริเวณแผล (เปลือก)
สรรพคุณแตงโมช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น
ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ

ที่มา : เอกสารเผยแพร่ของกรมส่งเสริมการเกษตร

No comments:

Post a Comment