การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน
วิธีการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน
ข้าวโพดฝักอ่อน คือ ข้าวโพด ที่ปลูก นำเอาฝักอ่อนหรือฝักที่ยังไม่มีเมล็ดมาบริโภคในรูปของผัก ส่วนใหญ่ การปลูกข้าวโพด ในวันนี้ ได้แก่การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน เนื่องจากข้าวโพดฝักอ่อนหรือที่คนส่วนใหญ่นิยมเรียก แอ้ข้าวโพด เป็นพืชเศรษฐกิจที่ตลาดต้องการสูง นอกจากทานเป็นผัก
ข้าวโพดฝักอ่อน ซึ่งหมายถึง ข้าวโพดที่ปลูกที่นำเอาฝักอ่อนหรือฝักที่ยังไม่มีเมล็ดมาบริโภคในรูปของผัก ส่วนใหญ่การปลูกข้าวโพดในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน
พันธุ์ที่ปลูก
ข้าวโพดทุกชนิดหรือทุกสายพันธุ์สามารถนำมาปลูกเพื่อผลิตข้าวโพดฝักอ่อนได้แต่พันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกมี 3 พันธุ์คือ
1. พันธุ์สุวรรณ 2 เป็นข้าวโพดไร่ เมล็ดสีส้ม หัวใส อายุเก็บเกี่ยว 45-50 วัน ช่วงเก็บเกี่ยว 10 วัน
2. พันธุ์สุวรรณ 1 เป็นข้าวโพดไร่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 45-50 วัน ช่วงเก็บเกี่ยว 10 วัน
3. พันธุ์รังสิต 1 เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อายุเก็บเกี่ยว 45-50 วัน ช่วงเก็บเกี่ยว 10 วัน
4. พันธุ์รังสิต 2 เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อายุเก็บเกี่ยว 45-50 วัน
1. การเตรียมดินปลูก
ไถดินหรือขุดดินลึก 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7-15 วัน เพื่อทำลายเชื้อโรค ไข่แมลงและวัชพืช โรยปูนขาวลงไปเพื่อปรับสภาพดิน ทำการยกร่องแปลง กว้าง 70-80 เซนติ เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ขนาดที่ดิน ระยะระหว่างร่องแปลงปลูก 20-25 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับดินให้ร่วนซุย คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. การปลูก
ระยะปลูกระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ขุดหลุมปลูก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 หลุมละ 1 ช้อนชากลบดินบาง ๆ หยอดเมล็ดลงหลุมปลูก หลุมละ 2-3 เมล็ด กลบดินบาง ๆ
3. การดูแลรักษา
3.1 การให้น้ำ มีการให้น้ำโดยปล่อยเข้าตามร่องแปลงทุก 3 วัน หรือขึ้นอยู่กับสภาพดินปลูก
3.2 การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยหลังจากข้าวโพดงอกแล้ว 14-21 วัน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 หว่านที่ร่องน้ำข้าง ๆ ต้นแล้วกลบโคนดิน ต้นละ 1 ช้อนชา และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังข้าวโพดงอกแล้ว 35-40 วัน หรือเริ่มติดฝักอ่อน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 ในอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวปลูก แล้วพูนโคนกลบดิน
3.3 การป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะทำการถอนหญ้าพร้อมกับการกลบปุ๋ยและพูนโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้โค่นล้ม และมีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง กลุ่มไดโคฟอล เพื่อป้องกันกำจัดหนอนเจาะต้น
3.4 การดึงช่อดอกตัวผู้ เมื่อต้นข้าวโพดเจริญเติบโต ประมาณ 38-45 วัน จะเกิดช่อดอกตัวผู้ซึ่งจะอยู่ในระหว่างใบธง เกษตรกรก็จะดึงช่อดอกตัวผู้ออกก่อนที่ช่อดอกจะคลี่บาน หลังจากดึงช่อดอกตัวผู้แล้ว จะทำให้ฝักอ่อนที่เกิดจากช่อดอกตัวเมียมีการเจริญเติบโตดี ฝักมีความสมบูรณ์ การไว้จำนวนฝักอ่อนจะเก็บได้ 1-3 ต่อต้น โดยฝักที่สมบูรณ์ที่สุดจะอยู่ที่ฝักส่วนบนสุด และฝักที่ 2 และ 3 มักจะไม่สมบูรณ์ แต่หากดึงช่อดอกตัวผู้ได้เร็วจะทำให้ฝักอ่อนเจริญเติบโตดีทั้ง 3 ฝัก
4. การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อน เกษตรกรจะใช้ดัชนีการเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อน ดังนี้
4.1 วิธีการสังเกตการเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อน อาจใช้วิธีนับวันจากเริ่มปลูกจนเก็บเกี่ยวได้อายุประมาณ 40-45 วัน วิธีนี้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ข้าวโพด และหากปลูกในฤดูฝนจะเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าช่วงฤดูหนาว
4.2 การสุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยวิธีการนับอายุข้าวโพดหลังจากวันปลูกและสังเกตจากความยาวของไหมที่โผล่ออกมาจากฝักอ่อนซึ่งควรยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร หรือ 1 นิ้วข้อมือ เมื่อนำมาปอกเปลือกดูความยาวของฝักประมาณ 4-10 เซนติเมตร ความกว้างในช่วง 1-1.5 เซนติเมตรก็สามารถทำการเก็บเกี่ยวได้
5. การจำหน่าย
ลักษณะการซื้อขายข้าวโพดฝักอ่อนหรือจำหน่ายให้กับโรงงานแปรรูปข้าวโพด โดยผ่านพ่อค้าคนกลางในท้องถิ่นเป็นผู้เข้ามารับซื้อจากเกษตรกรโดยซื้อในลักษณะปอกเปลือกแล้ว ราคาซื้อขายขึ้นลงอยู่เสมอตามฤดูกาล ในช่วงฤดูฝนข้าวโพดจะขายได้ในราคากิโลกรัมละ 3-5 บาทในช่วงฤดูแล้วราคากิโลกรัมละ 8-12 บาท
มาตรฐานข้าวโพดฝักอ่อน
1. ขนาดข้าวโพดฝักอ่อน แบ่งตามขนาดเป็น 4 เกรด คือ
– ฝักใหญ่ ขนาด 9-13 เซนติเมตร ขนาด (L)
– ฝักกลาง ขนาด 7-9 เซนติเมตร ขนาด (M)
– ฝักเล็ก ขนาด 4-7 เซนติเมตร ขนาด (S)
– ฝักคละ ไม่จำกัดขนาด (ต่ำกว่า 4 เซนติเมตร)
ฝักใหญ่ กลาง และเล็ก จะกำหนดให้มีความผิดพลาดได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนฝักในแต่ละกระป๋อง ซึ่งเหมาะสำหรับผลิตส่งโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตเกรดเล็ก และกลาง มากกว่าเกรดใหญ่
2. คุณภาพข้าวโพดฝักอ่อน
สีของฝักจะมีสีเหลืองหรือครีม ฝักสมบูรณ์ มีการเรียงของไข่ปลาที่มีลักษณะตรง ไม่หักง่าย เน่าง่าย และแก่เกินไป ฝักต้องไม่มีรอยกรีด ไม่มีเศษไหม ฝักมีความสด ไม่เหี่ยวแห้ง ไม่ผ่านการแช่น้ำ และผ่านการตัดแต่งระหว่างรอยขั้นกับฝักเรียบร้อย
การรักษาคุณภาพข้าวโพดฝักอ่อนหลังการเก็บเกี่ยว
1. เมื่อเก็บฝักเสร็จ ควรรีบนำฝักเข้าร่มหรือโรงเรือนที่ระบายอากาศดี พยายามจัดวางเรียงกันเป็นแถว ไม่ควรวางเป็นกองสูง และไม่ควรทิ้งไว้หลายวัน และควรปลอกเปลือกทันทีหลังการเก็บเกี่ยว
2. การขนส่งควรทำโดยเร็วที่สุด และการจัดเรียงใส่รถบรรทุกควรใส่ในภาชนะก่อน โดยเฉพาะข้าวโพดที่ปอกเปลือกแล้ว ควรใส่ในกล่องกระดาษหรือตะกร้าพลาสติกที่มีรูระบายอากาศ
3. การปอกเปลือกข้าวโพด ต้องกรีดเปลือกโดยไม่ให้เกิดบาดแผล
4. การทำความสะอาดเพื่อลดปริมาณเชื้อรา ตั้งแต่มีดกรีด หีบห่อบรรจุ และเครื่องมือที่ใช้ รวมถึงโรงเรือน ควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้สารเคมีในรูปของแก๊สหรือสารละลายที่ฆ่าเชื้อโรค เช่น ฟอร์มาดีไฮด์ อัตรา 1-2 เปอร์เซ็นต์ ผสมน้ำฉีดพ่น เป็นต้น
5. การส่งออก ควรลดอุณหภูมิข้าวโพดฝักอ่อนโดยเร็วที่สุด ด้วยวิธีการอัดลมเย็น (forced – air cooling) เพื่อลดการเน่า ลดการสูญเสียน้ำ และความหวาน ยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น อุณหภูมิที่ใช้ในระหว่างการขนส่ง คือ 5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95 เปอร์เซ็นต์
ที่มา :
https://www.nkc.kku.ac.th/guidance/?page_id=1382
http://puechkaset.com/ข้าวโพดอ่อน/
No comments:
Post a Comment