การปลูกผักชีลาว
การปลูกผักชีลาว
ผักชีลาว เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับผักชี ลำต้นมีสีเขียวเข้มขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีสีเขียวสดออก เรียงสลับกัน ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกมีลักษณะคล้ายกับซี่ร่ม ผลแก่เป็นรูปไข่แบนมีสีน้ำตาลอมเหลือง ถ้านำไปใช้เป็นเครื่องเทศจะเก็บ ได้ก้ต่อเมื่อดอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่จะพบในรูป ของการ ทานสดเป็นผักมากกว่า ซึ่งควรเก็บก่อนที่จะออกดอก ผักชีลาวมีสองชนิด คือ ชนิดที่มาจากยุโรป (Dill) และชนิดที่มีกำเนิดในเอเชียเขตร้อน (Indian Dill) ในประเทศไทย มีการปลูกเพื่อใช้ทานเป็นผักมากกว่าปลูกเพื่อ ใช้ผลมา ทำเครื่องเทศเพราะมีคุณภาพน้อยกว่าประเทศอินเดีย
การปลูกผักชีลาว
การเตรียมแปลง และวิธีปลูก
สำหรับการปลูกเพื่อรับประทานเองมักเตรียมแปลงขนาดเล็ก กว้างประมาณ 1 เมตร ยาวตามความเหมาะสม ด้วยการพรวนดิน และยกร่องแปลงให้สูงเล็กน้อย หว่านโรยด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ตารางเมตร และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือใช้ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 1 กำมือ/ตารางเมตร แล้วค่อยพรวนดินให้เข้ากัน ก่อนโรยเมล็ดผักชีลาว อัตรา 2 กำมือ/ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยฟางบางๆหรือไม่คลุม แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
สำหรับการปลูกในแปลงเพื่อนำไปจำหน่ายจะแตกต่างจากการปลูกเพื่อรับประทานเองที่มีจำนวนแปลงมากกว่าเท่านั้น แต่โดยขั้นตอน และวิธีการจะเหมือนกัน และหลังจากปลูกมักจะดูแลพิถีพิถันกว่า ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม
สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีในระยะหลังการปลูก ไม่ควรใส่ในขณะต้นผักชียังเล็ก ควรใส่เมื่อต้นผักชีสูงได้ประมาณ 10-15 ซม. แล้ว แต่หากใส่ในระยะที่ยังเล็กให้ใส่ด้วยการละลายน้ำรดที่แปลงแทน เพราะหากใส่ด้วยการหว่านเมล็ดปุ๋ยโดยตรงในขณะที่ต้นยังเล็กมักจะทำให้ต้นผักชีเหลืองตายได้
การเก็บผลผลิต
ลำต้น และใบของผักชีลาวสามารถเริ่มเก็บมาประกอบอาหารได้ตั้งแต่ประมาณ 10 วัน หลังปลูก จนถึงระยะเริ่มแทงดอก หากถึงระยะที่ดอกบานแล้วจะไม่นิยมนำมาประกอบอาหาร เพราะใบ และลำต้นจะเหนียว และกลิ่นไม่ค่อยหอม จึงนิยมปล่อยเพื่อเก็บเมล็ดไว้เพาะในปีถัดไป
การเก็บเมล็ดจะเก็บได้ประมาณ 50-70 วัน หลังจากดอกบาน หากเก็บก่อนนี้เมล็ดจะมีความชื้นสูง และเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ แต่หากปล่อยไว้เกิน 70 วัน เมล็ดจะร่วงง่าย โดยระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บจะพบลำต้นมีสีเหลืองถึงน้ำตาลเข้ม เมล็ดมีลักษณะแห้ง มีสีน้ำตาลเข้ม
ผักชีลาว สรรพคุณ ประโยชน์ ต่างๆ
ผักชีลาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Anethum graveolen L. จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับผักชี มีกลิ่นฉุน ลำต้นมีสีเขียวเข้มขนาดเล็กลักษณะใบเป็นใบประกอบคล้ายขนนก มีสีเขียว สดออกเรียงสลับกัน ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองออกเป็นช่อ ก้านช่อดอก มีลักษณะคล้ายซี่ร่ม ผลแก่เป็นรูปไข่แบนสีน้ำตาลอมเหลือง ถ้าต้องการนำไปใช้เป็นเครื่องเทศ สามารถเก็บได้เมื่อดกเริ่มเปลื่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่ นิยมรับประทานใบสดเป็นผักมากกว่า ซึ่งควรเก็บเกี่ยวก่อนที่จะออกดอก ผักชีลาวมี 2 ชนิดคือ ชนิดที่มาจากยุโรป (Dill) และชนิดที่มีกำเนิดในเอเชีย เขตร้อน(Indian Dill) ในประเทศไทย มีอายุเก็บกี่ยวประมาณ 60 วัน
น้ำมันผักชีลาว (Dill seed oil) ได้จากการนำผลแก่แห้งไปกลั่นด้วยไอน้ำ สารสำคัญที่พบคือ คารืโวน ดี-ไลโมนีน และอัลฟ่า-เฟลเลนดรีน สารอื่นที่มีปริมาณรองลงมาคือ ไดไฮโดรคาร์โวน ยูจีนอล ไพนีน และอะนีโทล เป็นต้น
สรรพคุณทางยา นำผลแก่แห้งของผักชีลาวบดให้เป็นผง ชงกับน้ำดื่มวันละ 4-5 แก้ว แก้อาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมหรือใช้ต้นสดของผักชีลาวผสมกับนมให้เด็กอ่อนดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้เช่นกัน ส่วนน้ำมันมักใช้ผสมในยาย่อยอาหาร ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ประโยชน์ทางอาหาร :ใบสดและใบแห้งใช้โรยบนอาหารประเภทปลาเพื่อดับกลิ่นคาว ใบใส่แกงอ่อมแกงหน่อไม้ห่อหมกแกล้มแกงเนื้อน้ำพริกปลาร้าผักใส่ไข่ยอดใบรับประทานกับลาบเมล็ด และใบช่วยชูรสเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหยใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เมล็ดแห้งที่แก่เต็มที่ใช้เป็นยาบำรุงกำลังชั่วคราวและขับลมในท้อง เมล็ดก่อนนำมาประกอบอาหารควรบดก่อน โดยนิยมโรยบนสลัดผักและมันฝรั่งบดเพื่อเพิ่มรสชาติ นอกจากนี้น้ำมันผักชีลาวยังใช้แต่งกลิ่นผักดอง น้ำซอส สตู ขนมหวาน เครื่องดื่มและเหล้า
ผักชีลาวเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดด้วยเอทานอลจากผลและเมล็ดยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้
ฝากข้อคิดมุมมองของ ผักชีลาว เชิงการค้า
เมื่อผักชีลาวมีประโยชน์หลายด้านแบบนี้แล้ว แสดงว่าโอกาสของการปลูกผักชีลาวขายก็ยังมี สำหรับใครที่สนใจอยากจะเริ่มทดลองปลูก ก็ลองทำตมวิธีการที่กล่าวมาข้างต้น เชื่อแน่ว่าเมื่อปลูกจนเกิดความชำนาญ ผลิตได้มีคุณภาพและปริมาณที่สูงขึ้น การหาตลาดคงทำได้ไม่ยากและบางครั้งตลาดอาจจะวิ่งมาหาเองด้วยซ้ำ ยิ่งถ้าสามารถพัฒนาการหีบห่อที่ดีมีคุณภาพ หรือผลิตแบบปลอดสารได้ด้วยแล้ว ตลาดยิ่งจะกว้างมากขึ้น โอกาสก็มากขึ้น ดังนั้นแล้วผักชีลาว จึงเป็นพืชผักทำเงินอีกชนิดที่น่าสนใจมาก
http://www.bangkoktoday.net/dill/
http://puechkaset.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7/
No comments:
Post a Comment