Breaking

Tuesday, October 3, 2017

การปลูกหอมหัวใหญ่

การปลูกหอมหัวใหญ่

การปลูกหอมหัวใหญ่

การปลูกหอมหัวใหญ่


หอมหัวใหญ่ (Onion) เป็นพืชที่นิยมรับประทานมากในกลุ่มของหอมชนิดต่างๆ เนื่องจากมีกลิ่นฉุนแรงช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดี รวมถึงเนื้อหัวให้รสหวาน และกรอบ เหมาะสำหรับประกอบอาหารหลายชนิด อาทิ ต้มยำ สลัดผัก และยำปลากระป๋อง เป็นต้น รวมถึง นิยมใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ หัวหัวใหญ่แห้ง หอมหัวใหญ่ดอง เป็นต้น

การเพาะกล้า
1. แปลงควรทุบดินให้ละเอียด ผสมแกลบดำ ,ทรายละเอียดและปุ๋ยดินหมักชีวภาพปริมาณเท่าๆ กัน
2. ใช้ไม้ขีดห่างประมาณ 1 นิ้ว
3. หยอดเมล็ดลงไปตามแนวขีด ประมาณ 5-7 เมล็ดต่อ 1 นิ้ว กลบด้วยดินข้างเคียง
4. รดน้ำด้วยบัวรดน้ำรูเล็ก หรือบัวรดน้ำกล้วยไม้
5. เมื่อต้นกล้าสูงเท่าดินสอสามารถนำไปปลูกได้

การเตรียมแปลง
1. ทุบดินให้ละเอียด ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กก. ต่อ 1 ตร.ม. ผสมแกลบดำ 1 ถุงอาหารสัตว์
2. รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยฟางค่อนข้างหนา รดน้ำอีกครั้ง
3. แหวกฟางให้ถึงดิน ปลูกต้นกล้าลงไป จะตัดยอดใบหรือไม่ตัดก็ได้ แต่ควรตัดรากให้หมด ทำให้ต้นหอมงอรากเร็ว
4. รดน้ำผสมน้ำสกัดชีวภาพ อย่าง 7 วันต่อ ครั้ง
5. ควรปลูกห่างกัน 5-6 นิ้วต่อต้น

การดูแลรักษา
1. เติมปุ๋ยเดือนละครั้ง โรยระหว่างแถวประมาณ 1 กก.ต่อ ตร.ม.
2. ฉีดพ่นน้ำหมักสะเดาผสมน้ำหมักชีวภาพ สัปดาห์ละครั้ง
3. งดให้น้ำระยะหัวหอมโตเต็มที่ ช่วง อายุ 50 วัน 60 วันก็เก็บได้แล้ว
4. การเก็บรักษา ควรนำมามัดจุแขวนไว้ที่โปร่ง ลมผัดผ่านได้ ไม่ควรกองกับพื้น หัวหอมจะเน่าเสีย

การเก็บเกี่ยว
หอมหัวใหญ่จะเก็บเกี่ยวผลได้ตั้งแต่ 110-130 วันนับตั้งแต่หว่านกล้า ซึ่งก็ต้องเป็นไปตามพันธุ์ที่ปลูกด้วย สังเกตดูว่าใบเริ่มเหลืองและแห้ง เอามือบบต้นเหนือคอ ถ้ารู้สึกนุ่ม ๆ และฟ่ามๆ หรือต้นหอมแสดงอาการคอพับหรือบริเวณโคนต้นอ่อน ลำต้นก็จะล้มลง แสดงว่าจวนแก่เก็บได้แล้ว หอมควรจะเก็บเกี่ยวพรอมกัน ตามปกติเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ควรจะผึ่งตากแดดในแปลงให้แห้งดีเสียก่อน จึงจะเอาเข้าเก็บในยุ้ง

ถ้าปลูกจำนวนมากๆ จะใช้ไม้รวกกลมๆ นาบไปตามแปลงเพื่อให้ต้นหักพับแล้วทิ้งไว้ 7-10 วัน พอให้ต้นแห้งสนิทดีแล้วใช้ของคมๆ เช่นปลายมีด หรือจอบขุดลงไปให้ลึกกว่าระดับของหัวเล็กน้อยแล้วใช้มือดึงต้นขึ้นมา เมื่อถอนแล้วจึงใช้มีดตัดต้นและรากทิ้ง มัดต้นรวมกันเข้าเป็นมัดๆ แล้วตั้งทิ้งไว้ในแปลง ประมาณ 2-3 วัน การตัดต้นทิ้งนั้น ควรตัดให้สูงจากหัวประมาณ 1-3 ซม. ถ้าตัดสั้นกว่านี้อาจจะทำให้เป็นรอยแผลที่หัว และเป็นทางสำหรับเชื้อโรคที่จะเข้าไปในหัวได้ง่าย ส่วนการตัดรากนั้นควรตัดให้ชิดกับหัว

การผึ่ง
หลังจากที่ได้ตัดต้นและรากทิ้งแล้ว เอาหัวบรรจุในลังไม้หรือถุงก็ได้ตามขนาดเล็กกลางใหญ่ แล้วนำไปผึ่งเก็บไว้ในที่แห้งและร่มมีลมโกรก วางเป็นชั้นๆ อย่าให้สูงเกินกว่า 1 ฟุตหรืออย่าได้นำไปกองสุมไว้ เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก และจะทำให้หัวชั้นล่างเน่าได้ การผึ่งนั้นจะกินเวลามากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับความแก่ของหัว ชนิดของภาชนะที่บรรจุและดินฟ้าอากาศโดยทั่วๆ ไปแล้วจะกินเวลาประมาณ 3-4 อาทิตย์



การเก็บ
ที่เก็บประกอบด้วยไม้ระแนงตีเป็นชั้น ๆ ประมาณ 2-3 ชั้น ด้านข้างเปิดโล่งหมดทั้ง 4 ด้าน ถ้าอยู่กลางแจ้ง ควรทำหลังคาเพื่อบังแดดด้วย นำหัววางเรียงบนชั้นๆ หนึ่งๆ ไม่ควรหนากว่า 1 ฟุต เพื่อให้อากากถ่ายเทได้สะดวก ควรหมั่นดูบ่อยๆ และค่อยดูแลตัดเอาหัวที่เน่าทิ้งเสีย

การสังเกตหัวหอมใหญ่พร้อมเก็บ
– ใบจะกาง และโน้มลงดิน
– ใบเริ่มเหลือง เปลี่ยนเป็นสีเทา และเหี่ยว
– เปลือกหุ้มหัวด้านนอกแห้ง มีสีน้ำตาล
– เมื่อใช้มือบีบลำต้นเหนือหัวหัวจะรู้สึกนุ่ม ลำต้นไม่แน่น

ศัตรูของหอมหัวใหญ่
แมลง แมลงศัตรูหอมหัวใหญ่มีหลายชนิด เช่น มดง่าม แมงกะชอน หนอนกระทู้ เพลี้ยไฟ
1. มดง่าม ยาที่ใช้ควรใช้ยาเคมี ออลดริน ชนิดผง ละลายน้ำ โดยผสมน้ำ 1 ช้อนแกงต่อ 1 ปี๊บฉีดให้ทั่ว
2. แมงกะชอน ยาที่ใช้เช่นเดียวกับมดง่าม
3. หนอนกระทู้ หนอนกระทู้หลายชนิดทำลายหอม โดยกัดกินใบทั้งกลางวันและกลางคืน และมักหลบอาศัยกิดกินในใบ (หลอด) หอม ทำให้การป้องกันกำจัดโดยการใช้ยาลำบาก และไม่ใคร่ได้ผล หนอนกระทู้ที่พบเสมอๆ ได้แก่ หนอนกระทู้ผัก และหนอนกระทู้หอม โดยเฉพาะหนอนกระทู้หอม พบทำลายหอมอย่างรุนแรง ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี
และประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่หลังฤดูฝนเป็นต้นไป ซึ่งเข้าใจว่าระบาดไปจากจังหวัดราชบุรี หากปล่อยให้หนอนกระทู้หอมระบาดมากแล้วจะกำจัดยาก จึงควรหมั่นตรวจดูแปลง เมื่อพบไข่เป็นกลุ่มมีใยสีขาวนวลหุ้ม (ไข่หนอนกระทู้หอม) หรือกลุ่มใหญ่กว่ามีใยสีน้ำตาลอ่อนหุ้ม (ไข่หนอนกระทู้ผัก) ให้รีบทำการพ่นยาทุก 3-5 วัน จนกว่าจะหมดไป ยาฆ่าแมลง ที่ควรใช้สำหรับหนอนกระทู้ผักไม่ใคร่มีปัญหานัก ยาธรรมดา เช่น เซวิน 85% อัตรา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บก็ใช้ได้ แต่สำหรับหนอนกระทู้หอม เป็นปัญหามากในการเลือกใช้ยา จำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เช่น ทามารอน และไนรูซิน อัตราผสมอย่างละ 2 ช้อนเเกง แล้วผสมน้ำ 1 ปี๊บ เวลาพ่นควรเติมยาจับใบเพื่อให้ผลในการกำจัดดียิ่งขึ้น
4. เพลี้ยไฟ จัดเป็นเพลี้ยชนิดหนึ่งสีน้ำตาล ขนาดเล็กมากแต่ยังมองด้วยตาเปล่าได้ มีลักษณะลำตัวเล็กบาง ขนาดความยาวประมาณ 1/5 ซม. หรือ 2 ซม. ดูดน้ำเลี้ยงตามโคนใบระหว่างก้าน ทำให้ใบเป็นจุดด่าง แล้วจะค่อยๆ แห้งไปในที่สุด หอมจะชะงักการเจริญเติบโต อาจทำให้ลำต้นเน่าถ้าชุ่มน้ำ แมลงชนิดนี้มักระบาดในฤดูอากาศร้อน แห้งแล้ง ถ้าพืชอ่อนแอขาดน้ำ จะเป็นอันตรายมาก ควรหมั่นตรวจดูอาการและสังเกตตัวเพลี้ยตามซอกกาบใบ แล้วรีบพ่นยากำจัด เช่นยาพวกมาลาไธออน หรือเซวิน 85% ขณะเดียวกันควรบำรุงพืชให้เจริญ การเพิ่มปุ๋ยทางใบจะช่วยให้ หอมฟื้นตัวเร็วขึ้น

โรคที่สำคัญของหอมหัวใหญ่
1. โรคใบเน่า หรือโรคแอนแทรคโนส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราจะทำให้ใบเป็นจุดสีเขียวหม่น ซึ่งจะขยายกว้างออกไปอย่างรวดเร็วจนเป็นแผลใหญ่ รูปไข่ เนื้อใบที่เป็นแผลเป็นแอ่งต่ำกว่าระดับเดิมเล็กน้อย บนแผลมักมีสปอร์ของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ติดอยู่ มีลักษณะเป็นหยดของ เหลวข้น สีส้มอ่อนอมชมพู เมื่อเวลาแห้งแล้วจะเป็นสะเก็ดแข็งอยู่บนแผล และมีสีคล้ำลง ทำให้มองเห็นเป็นตุ่มสีน้ำตาล หรือดำเรียงเป็นวงกลมซ้อนๆ กันหลายชั้น กว้างออกไปตามขนาดของแผล ส่วนมากใบที่กำลังเน่าจะหักพับไปตรงรอยที่มีแผลใหญ่เกือบรอบใบ และใบที่มีแผลหลายแผล หรือมีแผลใหญ่มาก ปลายใบ หรือใบจะแห้ง หรือเน่ายุบหายไปหมด บางต้นไม่มีใบดีเหลืออยู่เลย หัวจะเน่ายุบไปหมดด้วย เชื้อโรคถูกชะล้างลงไปทำลายจนถึงส่วนที่อยู่ติดดิน ทำให้ต้นเน่าตายหรือมีแผลที่หัวด้วย เก็บเกี่ยวไม่ได้ หรือถ้าเก็บหัวได้โรคก็จะติดไปแพร่ระบาดในระหว่างเก็บรักษา และจำหน่าย ทำให้หัวเน่าได้อีก
โรคนี้เกิดในระยะที่มีความชื้นสูง เช่น ในระยะที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน หรือระยะที่มีหมอกลงจัดติดต่อกันหลายวัน การแพร่ระบาดของโรคเกิดกว้างขวางรวดเร็วมาก เป็นโรคที่ร้ายแรงของหอมหัวใหญ่ที่กาญจนบุรี ที่เชียงใหม่ก็เคยระบาดเสียหายมากในบางปี
การป้องกันกำจัด การปลูกหอมในแหล่งที่มีโรคนี้ระบาดมาก จำเป็นต้องฉีดพ่นยาอย่างหนักและบ่อยครั้งในระยะที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะต่อการเกิดโรค เพราะส่วนมากยาจะถูกชะล้างออกไปจากใบพืชมาก โอกาสที่เนื้อเยื่อพืชจะติดโรคจะมีได้มาก การฉีดพ่นยาจึงเพียงชะงักโรคได้บ้าง ทำให้เสียหายน้อยลง ดังนั้นในแหล่งที่เคยมีโรคนี้ระบาดมา ก่อน จึงควรทำการฉีดพ่นยาไว้ก่อนที่จะเกิดอาการของโรคขึ้น โดยเฉพาะ เมื่ออยู่ในระยะที่มีอากาศเหมาะสมกับการเกิดโรค หรือเลี่ยงไปปลูกให้พ้นระยะดังกล่าวเสีย ยาที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคนี้มีหลายชนิด เช่น ยาพวกแคปตาโฟ เช่น ไดโฟ ดาแทน ยาพวกมาแนบ เช่น แมนเซทดี หรือไดเทน และยาพวกเบนโนมิล เช่น เบนเลท เป็นต้น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราแทบทุกชนิดมีประสิทธิภาพสูงต่อโรคนี้ ยกเว้น กำมะถันผง และบอร์โดมิกสเจอร์ อัตราใช้ควรใช้ตามที่แนะนำบนฉลากยา ส่วนระยะเวลาการฉีดพ่นต้องคำนึงถึงให้มาก เพราะหอมโตเร็ว การฉีดพ่นยาห่างกันเกินไปอาจไม่ได้ผล จึงควรจะปรับหรือเปลี่ยนแปลงระยะเวลาเอาเองให้เหมาะสม
2. โรครากเน่า โรคนี้เกิดจากเชื้อราที่อยู่ในต้น อาการเริ่มเป็นเมื่อหอมมีใบแก่เริ่มแห้ง โดยแห้งจากใบรอบนอกก่อน เมื่อถอนต้นดูจะเห็นว่าต้นหอมหลุดจากต้นได้ง่าย เพราะรากและโคนต้นเน่าเปื่อยเป็นสีน้ำตาลการเน่าจะลามเข้าไปในกาบของหัวหอม ทำให้มีรอยช้ำ กำใช้มือกดหรือบีบหัวหอม จะพบว่าภายในหัวหอมนิ่มหรือเน่า แล้วในเวลาที่มีอากาศชื้นจะสังเกตเห็นมีราสีขาว เป็นเส้นใยฟูละเอียดบนผิวดิน และบนส่วนที่เป็นโรคด้วย
การป้องกันกำจัด เมื่อหอมเป็นโรคนี้จะแก้ไขได้ยากมาก ควรที่จะรีบเก็บเอาต้นที่เป็นโรคออกไปเผาทำลายเสีย ในการปลูกพืชคราวต่อไป จะต้องมีการปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยพยายามปรับดินให้มีความเป็นกรดอ่อนๆ เกือบเป็นกลาง และเพิ่มอินทรีย์วัตถุที่เป็นกากพืชสดและปุ๋ยคอก จะช่วยให้โรคนี้ลดความรุนแรงลงได้ระยะหนึ่ง ถ้าจะให้การป้องกันโรคนี้ได้ผลดีขึ้นแล้ว ควรจะทำการปลูกพืชอื่นสลับไม่ต่ำกว่า 5 ปี ไม่ควรใช้ยาเคมีชนิดใดๆ รดหรือฉีดพ่นลงไปในดิน เพราะนอกจากไม่ได้ผลแล้วยังทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นอีกด้วย
3. โรคหัวและรากเน่า เกิดจากเชื้อราในดินที่เรียกว่า ราเม็ดผักกาด เมื่อเกิดโรคนี้ต้นหอมเริ่มมีใบแก่เหี่ยวแห้งไป กาบหัวหอมช้ำน้ำ และมีเส้นใยราสีขาวเป็นเส้นหยาบ มองเห็นชัดด้วยตาเปล่าขึ้นอยู่บนแผล และตามรากซึ่งเน่าเป็นสีน้ำตาล ในดินก็จะพบเส้นใยของราเจริญอยู่ตามโคนต้น นานไปจะพบเม็ดราเริ่มเป็นสีขาวขนาดเล็กและโตขึ้นจนเม็ดมีขนาด ประมาณเม็ดผักกาด สีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลขึ้นปะปนอยู่กับเส้นใยรา เมื่อเก็บหัวหอมรานี้จะติดไปด้วย และจะทำให้ค่อยๆ เกิดอาการเน่าในระหว่างเก็บรักษาอีกด้วย หัวที่เป็นโรคนี้จึงคัดทิ้งให้หมด
เชื้อรานี้มีอยู่ทั่วไปในดิน และทำอันตรายพืชหลายชนิค บางครั้งเชื้อราจะติดตามมากับฟางข้าวที่ใช้คลุมดิน การระบาดเป็นไปได้ช้าๆ และเกิดเป็นกลุ่มๆ และควรจะต้องระมัดระวังเม็ดรามิให้ตกหล่นไปที่อื่น หรือติดเครื่องมือเครื่องใช้ไปยังจุดอื่นๆ ด้วย

การป้องกันกำจัด
– ให้ขุดหอมและดินในที่เกิดโรครวบรวมไปเผาทำลายเสีย เพื่อป้องกันมิให้โรคแพร่ระบาดไปทั่วไร่
– ในการปลูกหอม หรือพืชอื่นๆ ในปีต่อๆ ไปในที่ที่มีโรคนี้ระบาดอยู่ ควรทำการปรับปรุงดินให้มีสภาพเป็นกลาง จะช่วยให้โรคนี้ชะงักไปได้ระยะหนึ่งหรือหายไป
– ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลีบไปไม่ต่ำกว่า 5 ปี
4. โรคใบจุดสีม่วง โรคนี้เกิดจากเชื้อราเข้าทำลายที่ใบ โดยใบหอมที่ถูกทำลายจะเริ่มมีจุดสีขาว แล้วขยายวงกว้างออก เป็นแผลใหญ่รูปไข่ สีเนื้อหรือน้ำตาลอ่อน บริเวณรอบแผลมีสีน้ำตาลแก่และสีม่วงอ่อนไม่แน่นอน ใบที่มีแผลขนาดใหญ่หรือมีหลายแผล ใบจะหักพับลงทำให้ใบหรือปลายใบแห้ง ต้นหอมจะทรุดโทรมทำให้ไม่ลงหัว หรือหัวไม่โต เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วโรคนี้จะเข้าทำลายในระยะเก็บรักษา โดยเชื้อราจะเข้าทางบาดแผลที่บริเวณกอของหอมหัวใหญ่ ทำให้เกิดอาการเน่าเละ กาบหอมที่สดจะหดตัว สีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ โรคนี้พบระบาดมากทุกปีในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพบว่าเป็นโรคนี้อย่างรุนแรง

การป้องกันกำจัด
ควรทำเช่นเดียวกับการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนส การใช้ยาก็เช่นเดียวกัน ยกเว้นยาพวก เบนโนมิล เช่น เบนเลท ซึ่งใช้ในการกำจัดโรคนี้ไม่ได้ผล
5. โรคราดำ โรคนี้เกิดจากเชื้อราในอากาศ มักเกิดกับหัวหอมที่เก็บเกี่ยวแล้ว เมื่อเก็บรักษาไว้ในที่ๆ มีอากาศชื้น มักจะมีราสีดำเป็นกลุ่มใหญ่ เส้นใยรามีหัวสีดำ ซึ่งจะพุ่งกระจายจากกันได้ง่ายเมื่อมีแรงกระทบกระเทือน เนื้อเยื่อที่มีราขึ้นจะเน่าเปื่อยลึกเข้าไปที่ละน้อย และขยายกว้างออกไป โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้กาบใบเน่าไปทีละชิ้น ส่วนมากเชื้อราจะเจริญเข้าไปทางแผลที่เกิดจากการตัดใบออก โดย เฉพาะใบที่แห้งไม่สนิท ซึ่งเป็นช่องทางให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย เชื้อราจึงเข้าไปทำให้กาบใบตรงกลางเน่าเป็นสีน้ำตาล และมีราสีดำขึ้นระหว่างกาบใบด้วย หัวหอมจะมีอาการเน่าและหัวนิ่ม

การป้องกันและกำจัด
1. การเก็บหัวหอม ควรเก็บเมื่อโคนใบแห้งเสียก่อน ไม่ควรรีบเก็บก่อนอายุหอมแก่
2. เพื่อป้องกันการเกิดโรคนี้ ระหว่างการเก็บรักษา ควรพ่นยาไซเนบหรือมาเนบ ที่หัวหอม โดยเฉพาะที่รอยตัด แล้วผึ่งให้แห้งจึงเก็บ ถ้าจะเก็บไว้นานๆ ควรเก็บในที่ที่อากาศเย็น และไม่ควรกองสุมกันจนเกิดการร้อนระอุ ซึ่งจะทำให้เกิดการเน่าได้ดี

ประโยชน์ของหอมหัวใหญ่
หอมชนิดนี้เป็นที่รวมตัวของสารอาหารสารพัดอย่างชนิด ที่หาผักอื่นทาบรัศมีได้ยาก ทั้งแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน ซีลีเนียม เบตาแคโรทีน กรดโฟลิก และฟลาโวนอยด์เควอเซทิน มีสารอาหารอัดแน่นทุกอณูอย่างนี้นี่เอง หอมหัวใหญ่จึงเป็นผักที่รักษาโรคได้เยอะมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ป้องกันมะเร็งลำไส้ สลายลิ่มเลือด ลดอาการปวดอักเสบ ทำให้เจริญอาหาร แก้หวัด คัดจมูก แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องร่วง แก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด กระจ่ายเลือด แก้บวม แก้ปวด มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค แก้ลมพิษ ป้องกันโรคหัวใจ มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ ขับพยาธิ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แก้ความดันโลหิตสูง ลดโคเลสเตอรอลในเลือด แก้ภูมิแพ้หอบหืด และเบาหวาน

หัวใช้รับประทานเป็นผัก หรือนำมาใช้ปรุงอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวในอาหารได้เป็นอย่างดี
ช่วยทำให้กระดูกอ่อนนุ่ม เมื่อนำมาใช้ต้มกับกระดูกสัตว์
น้ำมันหอมระเหยจากหัวหอมสามารถนำมาใช้ทาสิวอักเสบเพื่อช่วยลดการอักเสบได้
ช่วยรักษาฝ้า ตามตำราฝรั่งใช้หอมหัวใหญ่นำมาดองกับไวน์แล้วแช่ทิ้งไว้สักเดือน แล้วใช้น้ำที่แช่มาทาเพื่อรักษาฝ้า เห็นว่าได้ผล
ประโยชน์ของหัวหอมกับการนำมาสกัดทำเป็นเครื่องสำอางบางชนิด เช่น ยาสระผม ยาบำรุงเส้นผม เนื่องจากมีสารเพกติน กลูโดคินิน และไกลโคไซด์ ที่จะช่วยขจัดรังแคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราต่าง ๆ ได้
เมนูหอมใหญ่ เช่น ผัดหัวหอมใหญ่ ไข่เจียวหอมใหญ่ หัวหอมใหญ่ทอด เนื้อผัดหอมหัวใหญ่ หมูผัดพริกสดใส่หอมใหญ่ ข้าวไก่อบหอมใหญ่ ซุปหอมหัวใหญ่ ยำเห็ดหอมใหญ่ เป็นต้น

No comments:

Post a Comment