Breaking

Monday, November 27, 2017

การปลูกมะละกอ

การปลูกมะละกอ

การปลูกมะละกอ

การปลูกมะละกอ


มะละกอ จัดเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมบริโภคมากที่สุดชนิดหนึ่ง ถือเป็นผลไม้ที่สามารถแปรรูปเป็นอาหารได้หลากหลายประเภท ทั้งในลักษณะของอาหารคาวในรูปผลดิบ อาทิ ส้มตำ แกงส้ม และในรูปผลสุกที่เป็นของหวานเป็นผลไม้รับประทาน

ปลูกมะละกอเพื่อเสริมรายได้
ชาวสวนที่ปลูกมะละกอส่วนใหญ่ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามะละกอช่วยให้พวกเขามีรายได้เพิ่มมากขึ้น เพราะมันขายง่าย และสามารถออกผลได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งในเรื่องของการปลูกนั้นก็สามารถปลูกได้ง่าย เพราะต้นมะละกอจะสามารถเติบโตได้ในทุกสภาพอากาศอยู่แล้ว มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดินที่มีความชื้นเล็กน้อย หน้าดินลึก การระบายน้ำดี ไม่ชอบพื้นที่น้ำท่วมขัง สภาพดินเป็นกรดเล็กน้อย

มะละกอจัดเป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 3-4 เมตร บางสายพันธุ์ และต้นที่มีอายุหลายปีอาจมีความสูงมากกว่า 10 เมตร ลำต้นเรียวตรงไม่แตกกิ่ง แต่อาจพบการแตกกิ่งสาขาในกรณีที่ยอดอ่อนถูกทำลายขณะเจริญเติบโต ใบมีลักษณะเป็นฟันเลื่อย เว้าลึกเป็นแฉก ดอกมีสีขาวออกเหลืองนวล มีกลิ่นหอม ผลมีทั้งลักษณะเรียวยาว กลมอ้วน ขึ้นกับสายพันธุ์ที่ปลูก

สายพันธุ์มะละกอ
พันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่มีการพัฒนา และผสมข้ามสายพันธุ์ จนได้ลักษณะเด่นตามต้องการ อาทิ พันธุ์พื้นเมือง, พันธุ์ปากช่อง 1, พันธุ์ท่าพระ 50, พันธุ์โกโก้, พันธุ์แขกดำ, พันธุ์แขกนวล, พันธุ์สายน้ำผึ้ง และพันธุ์โซโล สายพันธุ์มะละกอ

การขยายพันธุ์
การขยาย และเพาะพันธุ์มะละกอสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน คือ การเพาะด้วยเมล็ด การปักชำ การติดตา การตอนกิ่ง แต่ปัจจุบันใช้วิธีการเพาะเมล็ดเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เพราะง่าย สะดวกรวดเร็ว และขยายพันธุ์ได้ครั้งละจำนวนมาก

การเพาะพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นวิธีที่สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมากๆในครั้งเดียว โดยจะต้องใช้เมล็ดจากต้นแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเด่น และสมบูรณ์ที่สุดในแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูก ส่วนการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการอื่นๆ ไม่ถือเป็นที่นิยม แต่มีการนำไปใช้ในกรณีต่างๆ อาทิ การตอนกิ่งเพื่อขยายต้นแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเด่น เป็นต้น

การเตรียมต้นกล้า
การเตรียมต้นกล้าใช้วิธีการเพาะเมล็ด ซึ่งสามารถทำได้ 3 แบบ คือ
1. การเพาะเมล็ดใส่ถุง
2. การเพาะเมล็ดลงแปลงเพาะแล้วย้ายใส่ถุง
3. การเพาะเมล็ดลงกะบะพลาสติก

การเตรียมพื้นที่
มะละกอสามารถปลูก และโตได้ดีในทุกสภาพดิน แต่พื้นที่ปลูกต้องมีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะ เพราะมะละกอจะเหี่ยวตายภายในไม่ถึงสัปดาห์หากพื้นดินมีความชื้นมากหรือมีน้ำท่วมขัง ทั้งนี้ หากพื้นที่ปลูกไม่สามารถมีระบบระบายน้ำได้ก็ควรเป็นพื้นที่ที่อยู่ในที่สูงหรือมีความลาดชันเล็กน้อย ก่อนการปลูกควรทำการไถกลบ 1 รอบ และไถดะ 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาประมาณ 1 อาทิตย์หลังการไถเพื่อกำจัดวัชพืช และตากหน้าดินเสียก่อน สำหรับแปลงปลูกควรทำการยกร่องสำหรับพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมขัง ส่วนพื้นที่สูงหรือเป็นพื้นที่ลาดเอียงอาจปลูกเป็นแนวโดยไม่ต้องยกร่องปลูกก็ได้

การเตรียมหลุมปลูก
สำหรับหลุมปลูกในพื้นที่ที่หน้าดินตื้น และแน่น ให้ทำการขุดหลุม กว้าง ยาว ลึก อย่างละประมาณ 40-50 เซนติเมตร และปล่อยตากแดดประมาณ 4-7 วัน ก่อนปลูกให้รองพื้นด้วยปุ๋ยหมักหรือมูลสัตว์ สำหรับพื้นที่ที่มีหน้าดินลึก ดินมีสภาพร่วนซุ๋ยเนื้อดินไม่แน่น อาจใช้วิธีขุดหลุม และรองด้วยปุ๋ยหมักในขั้นตอนข้างต้นหรือให้ใช้ปุ๋ยหมักหรือมูลสัตว์หว่านโรยก่อนในขั้นตอนการเตรียมแปลง ซึ่งการปลูกอาจไม่ต้องขุดหลุมลึกก็ได้ ส่วนระยะปลูกแนะนำที่ 3×3 เมตร หรือ 2.5×3เมตร ต่อหลุมหรือต้น

การปลูก
การปลูกมะละกอนิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝนหรือกลางฤดูฝนเพื่อให้ต้นกล้ามะละกอตั้งตัวได้เร็ว ส่วนพื้นที่ที่มีระบบน้ำชลประทานสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี สำหรับต้นกล้าที่นำมาปลูกควรมีอายุประมาณ 1 เดือน หลังงอกหรือมีใบแท้อย่างน้อยประมาณ 4-6 คู่ เสียก่อน

การปลูกนั้น สำหรับการปลูกแบบหลุมให้ฝังกลบดินจนถึงปากหลุมหรือดินเดิมเสียก่อน แล้วทำการขุดหลุมบริเวณกลางหลุมในระดับความลุกเท่ากับระดับถุงเพาะกล้าหรือระดับเดียวกันกับระดับรากจนถึงโคนต้นพร้อมฝังกลบดินให้กลบโคนต้นกล้ามะละกอ

ส่วนการปลูกแบบไม่ยกร่อง ให้ขึงเชือกหรือกะแนวปลูกให้เป็นแนวเดียวกัน และทำการขุดเป็นหลุมในระดับความลึกกับการปลูกแบบหลุมดังที่กล่าวมาขั้นต้นพร้อมกลบดินในระดับโคนต้น

การกลบดินไม่ควรกลบให้แน่นมาก เพียงใช้ฝ่ามือกดหน้าดินรอบโคนต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หลังจากนั้นให้ทำการรดน้ำหลังปลูกทันที

การให้น้ำ และปุ๋ย
ต้นกล้ามะละกอที่ปลูกใหม่จะต้องทำการให้น้ำจนต้นมะละกอสามารถตั้งตัวได้ โดยในช่วงแรกควรให้น้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หลังจากมะละกอตั้งต้นได้ประมาณหลังเดือนที่ 2 อาจให้น้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หรือไม่ให้ในวันฝนตกหรือขึ้นกับปริมาณน้ำฝน

สำหรับช่วงก่อนออกดอกจนถึงติดผล1-2เดือน ให้ทำการให้น้ำมากขึ้นอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพราะหากมะละกอขาดน้ำในช่วงออกดอกจะทำให้ดอก และผลไม่สมบูรณ์ และร่วงล่นได้ง่าย

การให้ปุ๋ยจำเป็นต้องให้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มแร่ธาตุให้แก่มะละกอ

ปุ๋ยอินทรีย์อาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์อินทรีย์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดที่มีการเติมแร่ธาตุหรือปุ๋ยเคมีร่วมด้วย แต่อาจใช้ปุ๋ยหมักหรือมูลสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่นซึ่งอาจมีราคาที่ถูกกว่า สำหรับการให้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักจะให้ประมาณ 5 กิโลกรัม/ต้น โดยแบ่งการให้เป็น 3 ระยะ คือ ในระยะหลังปลูกที่มะละกอตั้งต้นได้ ระยะก่อนมะละกอออกดอกรุ่นแรก และระยะติดลูก หลังจากนั้น การให้ปุ๋ยอินทรีย์หลังจากเก็บลูกในรุ่นแรกอาจให้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักในระยะ 2 เดือน/ครั้ง ก็ได้

ปุ๋ยเคมี อาจให้เป็นสูตรน้ำฉีดพ่นทางใบ สูตร 21-21-21 ในอัตราต้นละ 50 กรัม หลังจากย้ายปลูกประมาณ 1 เดือน และให้ทุกเดือนตลอดอายุ 3 เดือน โดยเพิ่มในอัตรา 50 กรัม ทุกๆ 1เดือน

การให้ปุ๋ยเคมีทางดินอาจให้สูตร 24-12-12 หลังจากย้ายปลูก 1 เดือน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและให้ตลอดจนถึงระยะออกดอก หลังจากนั้นให้เปลี่ยนสูตรเป็น 13-13-21 หรือให้สูตรอื่นที่เลขสองตัวหน้ามีตัวเลขน้อยกว่าตัวเลขสุดท้าย เพื่อให้ติดผล และผลมีมีความสมบูรณ์ หลังการเก็บเกี่ยวผลรุ่นแรกให้ใช้สูตร 15-15-15 ตลอดอายุของมะละกอก็ได้

การเก็บผลผลิตมะละกอสามารถเก็บได้ตามความต้องการของตลาด และความต้องการที่จะจำหน่ายทั้งในรูปมะละกอดิบ และมะละกอสุก สำหรับระยะเวลาการเก็บเก็บเกี่ยวจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ดังนั้น หากต้องการผลิตเร็วอาจต้องใช้สายพันธุ์ที่ให้ผลิตเร็ว และควรพิจารณาความเหมาะสมหรือความต้องการของท้องตลาดทั้งในรูปมะละกอดิบ และมะละกอสุกอีกด้วย

โรคและแมลงที่เกิดกับมะละกอ

เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มี 6 ขา มีลำ ตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่มีปีกยาวบนหลังจึงบิดได้และปลิวไปตามลมได้ด้วย มักพบระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูแล้ง อาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีนํ้าตาลถ้าเป็นกับผลทำ ให้ผลกร้านเป็นสีนํ้าตาล ในฤดูฝนจะไม่ค่อยพบ ถ้าพบอาจใช้นํ้าฉีดพ่นแรงๆ ให้หล่นไป หรือใช้ยาฆ่าแมลงพวกไดเมชโซเอท หรือโมโนโครดตฟอส ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน

ไรแดง
เป็นสัตว์ขนาดเล็กมี 8 ขา จะทำ ให้ผิวใบจะไม่เขียวปกติเกิดเป็นฝ้าด่าง ถ้าดูใกล้ๆจะพบตัวไรสีคลํ้าๆ อยู่เป็นจำ นวนมาก เดินกระจายไม่ว่องไว หรืออาจเห็นคราบไรสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูธรรมชาติคือด้วยเต่าเล็ก ตัวดำ ลำ ตัวรี ตัวอ่อนด้วงเต่าก็กินไรได้ดีถ้ามีไรระบาดมากให้ใช้ยากำ จัดไรพวกไดโดโฟล เช่น เคอเรน ไดโคล ฯลฯ ในอัตรา 30-40 ซีซี ผสมนํ้า 20 ลิตร ฉีดพ่น

แมลงวันทอง
แมลงวันทองเป็นแมลงที่ทำ ลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก่ ทำ ให้หนอนที่ฟักเป็นตัว ทำ ลายเนื้อของผลเสียหาย เมื่ออยู่บนต้นหรือในขณะบ่มผลแมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินชื้นตัวเต็มวัยจะขึ้นจากดินมาผสมพันธุ์กัน และวางไข่ได้หลายจิด ช่วงที่ทำ ความเสียหายให้กับเกษตรกรมากที่สุดคือ ระยะที่เป็นตัวหนอน มักจะพบในมะละกอสุกทำ ให้ผู้บริโภคเสียความรู้สึกในการรับประทานทางป้องกันคือ เก็บผลมีสีเหลืองที่ผิว 5% ของพื้นที่ผิวผล ไม่ปล่อยให้สุกคาต้นร่วมกับการใช้มาลาไธออนฉีดพ่นทำ ลายตัวเต็มวัย และล่อตัวผู้ด้วยเมธธิลยูจีนอล ผสมยาฆ่าแมลงพวกมาลาไธออน อัตรา 1:1 หรือห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเก็บผลที่เน่าเสีย เนื่องจากแมลงและโรคออกจากแปลงปลูกฝังดินลึกๆ หรือเผาไฟ

เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงดูดที่สำ คัญชนิดหนึ่งในมะละกอ สันนิษฐานกันว่าเป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งโรคนี้พบว่ากำ ลังเป็นกับมะละกอในแหล่งผลิตทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง

โรคใบด่างของมะละกอ
อาการที่เกิดกับต้นกล้ามะละกอจะแสดงอาการใบด่างผิดปกติ ใบมีขนาดเล็กลง สีซีดต่อมาใบร่วงและทำ ให้ต้นตายสำ หรับต้นที่โตแล้ว จะแสดงอาการโดยใบยอดเหลืองซีด ใบมีขนาดเล็กลง ก้านใบสั้น ใบด่างสีเหลืองสลับเขียว ส่วนต้นหรือก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเข้ม มะละกอจะให้ผลผลิต น้อยหรือไม่ได้ผลเลย
สาเหตุเกิดจากเชื้อปาปายาริงสปอทไวรัส ถ้าพบว่าเป็นโรคต้องโค่นทิ้งและไม่นำ มีดที่มีเชื้อไปตัดต้นดีเพราะจะทำ ให้เชื้อแพร่กระจายไปได้และฉีดพ่นยาป้องกันเพลี้ยอ่อน หรือเพลี้ยอื่นๆ บางชนิด เช่น เพลี้ยไก่ฟ้า ไม่ให้มาดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ปกติ นอกจากนี้อาจใช้พันธุ์ต้านทานปลูกก็ได้

โรคราแป้ง
อาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นของเชื้อราเป็นขุยสีขาวๆคล้ายแป้งที่บนใบ ก้านใบ และผล ใบอ่อนที่ถูกทำ ลายจะร่วงหรือใบเสียรูป ยอดชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนมากๆ ถ้าเป็นโรคผลจะร่วง แต่ถ้าเป็นกับผลโตผลจะไม่ร่วงยังเจริญเติบโตได้ แต่ผิวจะกร้าน และขรุขระไม่น่าดู ส่วนที่ก้านนั้นมีสีเทาจาง ๆ แผลจะมีขอบเขตไม่แน่นอน
โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์ปลิวไปตามลมแพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โรคนี้มักจะเกิดในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาวควรพ่นด้วยสารป้องกันกำ จัดโรครา เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือไดโนแคพ 20 กรัมต่อนํ้า 30 ลิตร

โรคโคนเน่า
อาการของโรคพบทั้งที่ราก และโคนลำ ต้น อาการเน่าที่โคนต้นจะเน่าบริเวณระดับดิน แผลจะลุกลามมากขึ้น และจะปรากฏอาการที่ใบทำ ให้ใบเหี่ยวและเหลือง ยืนต้นตายหรือล้มได้ง่ายที่สุดเพราะเมื่อโคนลำ ต้นเน่า ก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละหมด ไม่มีส่วนแข็งแรงที่จะทรงตัวอยู่ได้โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora plamivora พบเป็นมากในฤดูฝน เชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน เมื่อมะละกอเจริญเติบโต เชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เมื่อมีความชื้นสูงโดยสปอร์จะไหลไปกับนํ้าเข้าทำ ลายต้นอื่นถ้าหากมีนํ้าท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย การจัดระบบปลูกให้มีการระบายนํ้าที่ดีจึงเป็นสิ่งจำ เป็น ฉะนั้น เมื่อปรากฏอาการของโรคควรถอน ขุดทำ ลาย ถ้าตรวจพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าทำ ลายก็ควรรดด้วยสารเคมี เช่น เมธาแลคซีล 20 กรัมต่อนํ้า 20ลิตร ฟอสเอ็ทธิลอลูมินั่ม 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร

โรคแอนแทรคโนส
อาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย ส่วนที่ผลแก่จะเกิดจุดแผลสีนํ้าตาลลุกลามเป็นวงกลม เมื่อผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้น และเนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคจะยิ่งลุกลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือแผลกลมนุ่ม และเป็นวงซ้อน ๆกัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาดเกิดจาก เชื้อรา Colletotrichum gloeosporieides (Glomerella cingulata) เชื้อราชนิดนี้ ทำ ลายทั้งใบอ่อนและผล ความสำ คัญและพบระบาดเสมออยู่ที่ผลสปอร์ของเชื้อราดังกล่าวจะแพร่ระบาดไปยังผลมะละกอในต้นเดียวกันและต้นอื่น ๆ ตลอดจนในภาชนะบรรจุผลมะละกอได้โดยง่าย โดยอาศัยอาการสัมผัสติดไปหรือลมเป็นพาหนะนำ เชื้อโรคไป
การป้องกันและกำ จัดถ้าโรคระบาดในแปลงปลูกขั้นรุนแรงก็พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร แมนโคเซป แคปแทน 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร

No comments:

Post a Comment