Breaking

Wednesday, October 18, 2017

การปลูกขมิ้นชัน

การปลูกขมิ้นชัน

การปลูกขมิ้นชัน

การปลูกขมิ้นชัน



วิธีการปลูกขมิ้นชัน
1. การเตรียมการก่อนปลูกขมิ้นชัน
1.1 การเตรียมดิน
1) ไถพรวนดินให้ร่วนซุย อย่างน้อย 1 ครั้ง หากเป็นพื้นที่ที่หน้าดินแข็งหรือเป็นดินเก่า ควรไถพรวนไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง
2) ตากดินไว้ 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อทาลายไข่แมลงและเชื้อโรคในดิน
3) เก็บเศษไม้ ซากวัชพืช กรวด และหิน ออกจากแปลง
4) ใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 4 ตันต่อไร่ หากดินเป็นกรด ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
5) หากพื้นที่ปลูกมีสภาพเป็นที่ลุ่มหรือที่ราบต่า มีการระบายน้าไม่ดี ควรยกร่องแปลงกว้าง 1 – 2 เมตร สูง 15 – 25 เซนติเมตร ความยาวตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ ระยะระหว่างร่อง 50 – 80 เซนติเมตร
1.2 การเตรียมพันธุ์ขมิ้นชัน
1) การเก็บรักษาหัวพันธุ์ โดยวางผึ่งไว้ในที่ร่ม แห้ง สะอาด ปราศจากโรค แมลง และสัตว์ต่างๆ มารบกวน
มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือฝังเหง้าพันธุ์ในทรายหยาบที่สะอาด เย็น ในที่ร่ม
2) การจัดเตรียมหัวพันธุ์ขมิ้นชัน
- การปลูกโดยใช้หัวแม่ น้าหนักประมาณ 15 – 50 กรัม ใช้ 1 หัวต่อหลุม หากหัวพันธุ์มีขนาดใหญ่มาก ให้ตัดเป็นท่อนๆ มีตาติดอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ตา
- การปลูกโดยใช้แง่ง น้าหนักประมาณ 10 กรัม และมีตา 2 - 3 ตาต่อแง่ง โดยใช้ 2 - 3 แง่ง ต่อหลุม
- ใช้ใบพลู เปล้าน้อย และต้นตะไคร้หอม บดแห้ง อัตรา 10,000 ppm คลุกกับหัวพันธุ์ก่อนปลูก



2. การปลูกขมิ้นชัน
2.1 วิธีปลูก
1) ขุดหลุมปลูกลึก 10 – 15 เซนติเมตร และรองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอก หลุมละ 200-300 กรัม
2) วางหัวพันธุ์ในหลุมปลูก กลบดินหนา 5 - 10 เซนติเมตร หรือนาหัวพันธุ์
ไปเพาะก่อนนาไปปลูก โดยนาไปผึ่งในที่ร่ม คลุมด้วยปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายแล้ว นานประมาณ 30 วัน หัวพันธุ์จะแตกหน่อขึ้นมา จึงนาไปปลูกในแปลง
2.2 ระยะปลูก
กาหนดระยะปลูก 35  50 เซนติเมตร การปลูกในสภาพยกร่องใช้ระยะห่างระหว่างแถว 45-75 เซนติเมตร และระหว่างต้น 25-50 เซนติเมตร หากปลูกขมิ้นชันเป็นพืชแซม ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 30 เซนติเมตร
2.3 จานวนต้นต่อไร่
หัวพันธุ์ประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่

3. การดูแลรักษาขมิ้นชัน
3.1 การใส่ปุ๋ย
1) หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ ไม่จาเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมในปีแรก
2) หากปลูกขมิ้นชัน 2 ปี ใส่ปุ๋ยคอก 300 – 500 กรัมต่อหลุม หลังจากดายหญ้าในฤดูฝน โดยใส่รอบโคนต้น
3) กรณีที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยชีวภาพ โรยเป็นแถวข้างต้น ห่างจากโคนต้น 8 – 15 เซนติเมตร ใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังปลูก 1 เดือน และครั้งที่สอง หลังปลูก 3 เดือน
3.2 การให้น้า
ระยะแรกควรรดน้าอย่างสม่าเสมอจนกว่าพืชจะตั้งตัวได้ และให้น้าน้อยลงในระยะหัวเริ่มแก่ และงดให้น้าในระยะเก็บเกี่ยว หากมีน้าท่วมขัง ให้ระบายน้าออกทันที

4. ศัตรูพืชที่สาคัญของขมิ้นชัน
4.1 วัชพืช กาจัดโดยการถอนหรือใช้จอบดายออก พรวนดิน และกลบโคนต้นเพื่อให้เหง้าเจริญเติบโตดี
1) ปีที่ 1 กาจัดวัชพืช 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เมื่อขมิ้นชันเริ่มงอก ยาวประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร
ครั้งที่ 2 หลังการปลูก 3 เดือน
ครั้งที่ 3 ช่วงฤดูแล้ง
2) ปีที่ 2 กาจัดวัชพืช 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ช่วงฤดูแล้ง
ครั้งที่ 2 ช่วงฤดูฝน
4.2 โรค
โรคเหี่ยว ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทาให้ต้นมีอาการใบเหลือง ต้นเหี่ยว หัวเน่าและมีเมือกสีขาวข้น
ซึมออกมาตรงรอยแผล
การป้องกันกาจัด
- พื้นที่ปลูกมีการระบายน้าดี ไม่เคยปลูกขมิ้นชันที่เป็นโรคหรือพืชที่เป็นพืชอาศัยของโรคมาก่อน
- หากเคยปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยของโรค ควรกาจัดวัชพืช ไถพรวน และผึ่งดินให้แห้งก่อนปลูกอย่างน้อย 1 เดือน
- หากแหล่งปลูกเคยมีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าว ข้าวโพด เป็นเวลา 3 ปี แล้วจึงกลับมาปลูกขมิ้นชันใหม่ หรือจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยยูเรียและปูนเผา อัตรา 70 : 800 กิโลกรัมต่อไร่
- ใช้หัวพันธุ์ที่ปลอดโรค โดยคัดเลือกมาจากแหล่งที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคมาก่อน
- การเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่าให้เกิดบาดแผล แยกผลผลิตที่เป็นโรคนาไปเผาทาลาย
- ถอนต้นที่เป็นโรคเผาทาลาย และขุดดินบริเวณนั้นผึ่งแดด และโรยปูนขาว
4.3 แมลง
เพลี้ยแป้ง (Mealy bug) โดยตัวอ่อนจะดูดน้าเลี้ยง เข้าทาลายตามรากและแง่งในระดับผิวดิน ทาให้บริเวณที่ถูกทาลายจะเห็นเป็นผงแป้งเกาะติดอยู่
การป้องกันกาจัด
- ใช้แมลงช้างปีกใส อัตรา 200 – 500 ตัวต่อไร่
- ฉีดพ่นด้วยสารสะเดา

5. การปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวขมิ้นชัน
5.1 ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม
เก็บในช่วงฤดูแล้ง เมื่อขมิ้นชันมีอายุ 9 – 11 เดือนขึ้นไป โดยจะสังเกตเห็นลาต้นเหนือดินแสดงอาการเหี่ยวแห้งสนิท หลีกเลี่ยงการเก็บในระยะที่ขมิ้นชันเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทาให้มีสาร curcumin ต่า หากต้องการขมิ้นชันสาหรับใช้ในการผลิตน้ามัน จะเก็บเกี่ยวขมิ้นชันเมื่ออายุ 2 ปี โดยจะเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้งของปีถัดไป
5.2 วิธีการเก็บเกี่ยวให้น้าดินพอชื้น ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แล้วจึงทาการเก็บเกี่ยว โดยใช้จอบขุดหรือถอนขึ้นมาทั้งกอ ตัดแยกส่วนเหนือดินและเหง้าออก ระวังอย่าให้ผลผลิตเกิดบาดแผล เพื่อป้องกันการเข้าทาลายของเชื้อโรค และไม่ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีฝน เพื่อป้องกันโรคเชื้อรา
5.3 การแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว
1) การทาความสะอาด ล้างเอาดินออก ใช้มือหรือแปรงขัดผิวขมิ้นชันให้สะอาด ตัดแต่งเอารากและส่วนที่เสียของหัวทิ้ง ผึ่งในตะกร้าหรือเข่งให้สะเด็ดน้า
2) การทาแห้งขมิ้นชันทั้งหัว โดยต้มหรือนึ่งเหง้าสด นาน 1-2 ชั่วโมง ตากแดด 6-8 วัน หรือเป่าลมร้อน 65-70 องศาเซลเซียส ให้มีความชื้นคงเหลือเพียง 8-10 เปอร์เซนต์ ทาความสะอาดเหง้า ปอกเปลือกหรือขัดผิวภายนอกของเหง้า อัตราส่วนขมิ้นสด : ขมิ้นแห้ง เท่ากับ 4 : 1
3) การทาขมิ้นชันแห้งแบบชิ้น โดยหั่นหรือฝานขมิ้นชันด้วยมีดหรือเครื่องหั่น หนาประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เกลี่ยให้บางบนถาดหรือตะแกรง นาไปอบโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบอุโมงค์ ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส
เป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง หรือนาไปตากแดด 3 วัน และอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง อัตราการทาแห้ง ขมิ้นสด : ขมิ้นแห้ง เท่ากับ 8 : 1
4) การทาขมิ้นชันผง โดยนาขมิ้นชันที่แห้งสนิทมาบดให้เป็นผงด้วยเครื่องบดที่สะอาดหรือด้วยการตาแล้วร่อนเอาเฉพาะผงขมิ้น ขมิ้นแห้ง 1 กิโลกรัม จะได้ขมิ้นผง 0.8 กิโลกรัม
5) การกลั่นน้ามันหอมระเหยขมิ้นชัน โดยหั่นขมิ้นชันเป็นชิ้นบางๆ ใส่ลงในหม้อกลั่น ใช้วิธีการกลั่นด้วยน้าและไอน้า (water and steam distillation) ที่อุณหภูมิ 150-200 องศาเซลเซียส นาน 8-10 ชั่วโมง อัตราการกลั่นน้ามันหอมระเหย ขมิ้นสด 1,000 กิโลกรัม ได้น้ามันขมิ้นชัน 2 กิโลกรัม
5.4 การบรรจุและการเก็บรักษา
1) บรรจุขมิ้นชันที่แห้งแล้วในภาชนะที่สะอาด แห้ง และปิดให้สนิท
2) เก็บในที่แห้ง สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก
3) ไม่ควรวางวัตถุดิบขมิ้นชันให้สัมผัสกับพื้นโดยตรง ควรเก็บไว้บนชั้นวางหรือยกพื้น
4) นาวัตถุดิบขมิ้นชันออกมาผึ่งในที่ร่ม ทุก 3-4 เดือน
5) ไม่ควรเก็บวัตถุดิบขมิ้นชันไว้นาน เนื่องจากปริมาณน้ามันหอมระเหยจะลดลงประมาณ 25%
เมื่อเก็บไว้นาน 2 ปี



6. ข้อมูลอื่นๆ
สารสาคัญในขมิ้นชัน คือ เคอร์คูมินอยด์และน้ามันหอมระเหย ขมิ้นชันที่ดีต้องมีปริมาณเคอร์คูมินอยด์
คานวณเป็นเคอร์คูมิน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยน้าหนัก และน้ามันหอมระเหยไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 โดยปริมาตรต่อน้าหนัก ตามมาตรฐานของตารับยาสมุนไพรไทย หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 และร้อยละ 4 ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก
การใช้ประโยชน์ ภูมิปัญญาไทยใช้ขมิ้นชันในการรักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ การบารุงผิวพรรณ และใช้ในการปรุงแต่งกลิ่นและรสอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากขมิ้นชัน ได้แก่ ยา เช่น ลดกรด รักษาแผล ลดอาการอักเสบ, อาหารเสริมสุขภาพ, เครื่องสาอาง เช่น ครีมบารุงผิว สบู่, ผลิตภัณฑ์สปา Aroma Therapy และลูกประคบ, ยาทากันยุง, ส่วนผสมในอาหารสัตว์, ผลิตภัณฑ์สาหรับสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ป้องกันกาจัดศัตรูพืช เป็นต้น

No comments:

Post a Comment